การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของมหาวิทยาลัยไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของมหาวิทยาลัยไทย 2) เพื่อแสวงหาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนการสอนในระบบดิจิทัลทั้งในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน รูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 388 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation’s Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ประเด็นที่ 1 ปัจจัยด้านคุณภาพสารสนเทศ ด้านผู้เรียนและผู้สอน ด้านคุณภาพของระบบ ส่งผลต่อ ความพึงพอใจระบบออนไลน์และมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประเด็นที่ 2 ศึกษาความสัมพันธ์จะเห็นว่าด้านการใช้งานระบบออนไลน์และด้านความพึงพอใจระบบออนไลน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกสูง (r = .808 P = .000) มีความสัมพันธ์กัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 ดังนั้น ภาครัฐควรกำหนดนโยบายที่สำคัญให้กับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการเรียนการสอน ที่มีเสถียรภาพของระบบมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุดถึงจะส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคปัจจุบัน และกำหนดแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้กับนักศึกษายุคใหม่ และผู้สอนผู้เรียนมีทักษะองค์ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการใช้ด้วยแอปพลิเคชันจัดการเรียนการสอนออนไลน์บนแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ที่ถูกนำมาใช้เป็นนวัตกรรมสื่อกลางเพื่อจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนในปัจจุบัน
Article Details
References
ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) พ.ศ. 2563. (2563). เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 3 (ลงวันที่ วันที่ 17 มีนาคม 2563.
พิชิต ตรีวิทยรัตน์ และวรรณา ตรีวิทยรัตน์. (2555). ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะและเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID -19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.
วินิจ ผาเจริญ และคณะ. (2564). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของพลเมืองไทยวัยเรียนกับสถานการณ์การเรียนออนไลน์ในยุคไวรัสโควิด-19. วารสารปัญญาปณิธาน, 6(1), 1-14.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติการศึกษาจำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาในระบบโรงเรียน ในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชน จำแนกตามระดับการศึกษา และชั้น ปีการศึกษา 2560 - 2564. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2565 จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx.
สุชาดา สุธรรมรักษ์. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา การเรียนรู้ของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : การวิเคราะห์โมเดล ลิสเรล ที่มีตัวแปรแฝง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
Chickering, Arthur W. & Schlossberg, Nancy K. (1997). Moving on: Seniors as People in Transition. In The Senior Experience. pp. 37-50. Gardner, JohnN. San Francisco : Jossey - Boss.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.
Ferguson, M. et al. (2008). Outcome of isolate tibial shaft fractures treated at level 1 trauma centres. Injury, 39(2), 187-195.
Hair, J. et al. . (2014). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). USA: Pearson New International Edition.