การสังเคราะห์แนวคิดการจัดการวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้นำเสนอเรื่องการสังเคราะห์แนวคิดการจัดการวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเชื่อมโยงไปสู่วิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์ และกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดบทเรียนสร้างองค์ความรู้การจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์ในชุมชน เป็นแนวทางปฏิบัติหรือประยุกต์สร้างคุณค่า และประโยชน์ทางสังคมกับชุมชน ดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการนำเสนอแนวคิดการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์อำเภอจะนะจังหวัดสงขลา ในด้านการจัดการกลุ่มให้ประสบความสำเร็จและมีการบริหารจัดการให้กลุ่มและสมาชิกมีความเข้มแข็ง โดยที่กลุ่มใช้การจัดการโดยวางแผนงานของกลุ่มไว้ดังนี้คือ 1) กระบวนการจัดระบบบริหารจัดการกลุ่ม 2) การยกระดับผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน 3) การสร้างกิจกรรมเพื่อความร่วมมือในการขยายพื้นที่เพื่อสร้างเครือข่าย 4) การพัฒนาช่องทางการตลาด ควบคู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในทุกๆ มิติเพื่อการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่ม และใช้แนวคิดการบริหารจัดการตามหลัก 4M ได้แก่ บุคลากร (Man) งบประมาณ (Money) วัสดุอุปกรณ์ (Materials) และการบริหารจัดการ (Management) เป็นปัจจัยนำเข้าในการจัดการกลุ่ม สำหรับการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกตามบริบทของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT และใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน Plan-Do-Check-Act ในการจัดการทรัพยากรของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน นอกจากนี้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนาอินทรีย์อำเภอจะนะยังยึดหลักปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการสำคัญในการดำรงชีวิตและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนให้มีความยั่งยืนเพื่อผลักดันให้กลุ่มมีเป้าหมายในการดำเนินงานไปสู่ความเข้มแข็งและมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของชุมชนต่อไป
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ วิเลปะนะ และคณะ. (2566). รูปแบบการบริหารจัดการที่ประสบความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กล้วยหอมทองแปลงใหญ่ ตำบลสุขไพบูลย์ อำเภอเสิงสางจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(5), 310-324.
คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564. เรียกใช้เมื่อ 15 สิงหาคม 2566 จาก https://planning.dld.go.th/th/images/stories/section-5/2560/strategy11.pdf
จิราพร เปี้ยสินธุ และคณะ. (2563). กลยุทธ์การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนพัฒนาคุณภาพทุเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ (ธารโต) ในการเพิ่มมูลค่าการตลาดทุเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 15(29), 143-161.
ณัฐพนธ์ สกุลพงษ์. (2565). รูปแบบการดำเนินงานของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและการพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
นงคราญ ไชยเมือง. (2558). การพัฒนาการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 25(1),16-39.
ปิยะดา พิศาลบุตร. (2561). กลยุทธ์การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(1), 105-120.
เพชรา บุดสีทา. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 “วิทยาการจัดการวิชาการ 2017: การวิจัยยุคประเทศไทย 4.0” คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (หน้า 271-285). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
วรินทร์ธร ธรสารสมบัติ. (2560). กลยุทธ์สินค้าวิสาหกิจชุมชนของผู้ประกอบการเขตอำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 5(2), 27-41.
วันทนา รอดประเสริฐ และกฤตยชล ทองธรรมสถิต. (2565). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดของวิสาหกิจชุมชนข้าวคนเมืองชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(6), 317-333.
ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี. (2564). ข้อมูลพื้นฐานสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดสงขลา : ข้าวภายใต้การขับเคลื่อน BCG Model ด้านการเกษตร จังหวัดสงขลา ประจำปี พ.ศ. 2565. เรียกใช้เมื่อ 28 สิงหาคม 2565 จาก www.ldd.go.th/Agri-Map/Data/S/ska.pdf
สมชาย น้อยฉ่า และคณะ. (2561). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(ฉบับพิเศษ), 130-139.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.
สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการหมู่บ้านข้าวลูกปลาป่าชิง ประจำปีงบประมาณ 2564. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุธาสินี โพธิจันทร์. (2558). PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง. เรียกใช้เมื่อ 29 สิงหาคม 2566 จาก https://www.ftpi.or.th/en/2015/2125
สุพัตรา รุ่งรัตน์. (2565). ความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ ตำบลป่าไร อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(12), 318-333.
สุรัชญา สุขประเสริฐ และคณะ. (2565). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตอาเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(87), 107-119.