การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามัน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม 2) ศึกษากระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม และ 3) ศึกษาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล ตัวแทนผู้ประกอบการท่องเที่ยว และผู้นำชุมชน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งสิ้น 24 คน ผลการวิจัยพบว่า 1)การจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในจัดการขยะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 แห่ง เน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมโครงการแบบมีส่วนร่วม เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการ การอบรมสัมมนา การบรรยายสาธิต และบูรณาการภาคีเครือข่าย ยึดหลักการทำงานปรับเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ความเข้าใจต่อแนวทางการจัดการขยะ จากบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐมาเป็นภาคเอกชน ชุมชน ประชาชน และการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย 2)กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง เน้น “การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม” เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน องค์การบริหารส่วนตำบล โคกกลอย เน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมภายใต้แนวทางการสร้างเครือข่าย ตามแบบ 1P3C เทศบาลตำบลกำแพง เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กร ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชน 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 แห่ง มีการสร้างคุณค่าจากการออกแบบเศษวัสดุเหลือใช้ เสริมสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ ๆ และใช้กระบวนการการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ และความชำนาญของ ผู้นำชุมชน ประชาชนแก้ไขร่วมกับการใช้วิทยากรที่มีความรู้
Article Details
References
ชลลดา กิจรื่นภิรมย์สุข. (2548). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเป็นการออกแบบ กระบวนการสื่อสาร. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2566 จาก https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Arnon .Bua.pdf
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2562). การสื่อสารเพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรกรเมืองคุมาโมะโตะ. เรียกใช้เมื่อ 11 สิงหาคม 2566 จาก https://www.stou.ac.th/SchoolsWeb/commarts/UploadedFile/การสื่อสารเพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรกรเมืองคุมาโมะโตะ%20ประเทศญี่ปุ่น.pdf
ตัวแทนชุมชนท่องเที่ยวบ้านนาตีน ตำบลอ่าวนาง. (28 มกราคม 2566). กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง. (ชัยพร เอ้งฉ้วน, ผู้สัมภาษณ์)
ตัวแทนสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดสตูล. (22 พฤศจิกายน 2565). การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในกิจกรรมต่าง ๆ ของเทศบาลตำบลกำแพง. (ชัยพร เอ้งฉ้วน, ผู้สัมภาษณ์)
นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ. (15 พฤศจิกายน 2565). กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะเทศบาลตำบลกำแพง. (ชัยพร เอ้งฉ้วน, ผู้สัมภาษณ์)
นายกเทศมนตรีตำบลกำแพง. (15 พฤศจิกายน 2565). นโยบายการจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเทศบาลตำบลกำแพง. (ชัยพร เอ้งฉ้วน, ผู้สัมภาษณ์)
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลอย. (17 มกราคม 2566). นโยบายการจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมองค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลอย. (ชัยพร เอ้งฉ้วน, ผู้สัมภาษณ์)
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง. (1 กุมภาพันธ์ 2566). นโยบายการจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง. (ชัยพร เอ้งฉ้วน, ผู้สัมภาษณ์)
ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน: จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ผู้ประกอบการร้านอาหาร. (12 มกราคม 2566). เครือข่ายและการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลอย. (ชัยพร เอ้งฉ้วน, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ใหญ่บ้าน ม.4 บ้านตำบลอ่าวนาง. (30 มกราคม 2566). ลดขยะที่ต้นทาง และคัดแยกขยะจากครัวเรือนจากผู้แทนประชาชน. (ชัยพร เอ้งฉ้วน, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล. (17 พฤศจิกายน 2565). แนวทางการพัฒนาสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะเทศบาลตำบลกำแพง. (ชัยพร เอ้งฉ้วน, ผู้สัมภาษณ์)
พวงชมพู ไชยอาลา แสงรุ่งเรืองโรจน์. (2556). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม: กลไกในขับเคลื่อนแนวคิดสู่การปฏิบัติภายใต้กระบวนทัศน์การพัฒนาแบบทางเลือก. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 30(2) 23-47.
รก.ผอ.กองสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม. (5 มกราคม 2566). กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะองค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลอย. (ชัยพร เอ้งฉ้วน, ผู้สัมภาษณ์)
วาสนา สุวรรณวิจิตร. (2019). กลยุทธ์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 32(2), 145-163.
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า. (2562). รางวัลพระปกเกล้า. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 4. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2566 จาก https://www.nstda.or.th/home/ knowledge_post/strategy-4/
Ministry of Tourism and Sports. (2015). Thailand Tourism Strategy 2015 - 2017. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.