การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมโดยประยุกต์ใช้หลักโยนิโสมนสิการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

Main Article Content

พระครูพิมลรัตโนภาส (จรณธมฺโม/รักษาภักดี)
สุเทพ เมยไธสง
จิราภรณ์ ผันสว่าง
พระเมธีวัชราภรณ์
บรรจง ลาวะลี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมโดยการประยุกต์ใช้หลักโยนิโสมนสิการ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมโดยการประยุกต์ใช้หลักโยนิโสมนสิการ และ 3) สร้างรูปแบบและประเมินรูปแบบการพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมโดยการประยุกต์ใช้หลักโยนิโสมนสิการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน 502 คน ผู้เชี่ยวชาญ 5 รูป/คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินรูปแบบการพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมโดยการประยุกต์ใช้หลักโยนิโสมนสิการ       สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้อันดับที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามี 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1.1) การทำงานเป็นทีม 1.2) การมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม 1.3) การมีบทบาทเชิงนวัตกรรม 1.4) การมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม และ 1.5) การมีความคิดสร้างสรรค์ ตัวบ่งชี้อันดับที่ 2 มี 21 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้อันดับที่ 1 มี 103 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง เป็นไปตามเกณฑ์ (χ2 = 14.421, df = 8, P-Value = 0.2181, RMSEA = 0.011, CFI = 0.981, TLI = 0.974, SRMR = 0.024, χ 2/df = 1.802 < 2) และมีค่าความเชื่อมั่นตามโครงสร้าง เป็นไปตามเกณฑ์มีค่าอยู่ระหว่าง 0.581 - 0.848 และ3) รูปแบบและการประเมินรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
(จรณธมฺโม/รักษาภักดี) พ., เมยไธสง ส., ผันสว่าง จ., พระเมธีวัชราภรณ์, & ลาวะลี บ. (2023). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมโดยประยุกต์ใช้หลักโยนิโสมนสิการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(11), 11–23. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/268619
บท
บทความวิจัย

References

กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2561). รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) และรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR). เอกสารประกอบโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่)” รุ่นที่ 6. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ฐิตินันท์ นันทะศรี และคณะ. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14(3), 93-106.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

นงพงา ปั้นทองพันธุ์. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลภาวะผู้นำ และการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลของรัฐกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL) สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประสิทธิ์ ธนานันต์ และคณะ. (2565). การพัฒนาแบบจำลองสมรรถนะของผู้บริหารเพื่อเข้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง ของเทศบาลเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(8), 167-178.

พระครูประโชติสารนิวิฐ (ลมมนตรี) และคณะ. (2565). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ที่มีอิทธิพลต่อ การบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(2), 205-220.

พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงพุทธในองค์การทางการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารบัณฑิต สาเกตปริทรรศน์, 7(1), 37-45.

พระครูสุนทรปริยัติกิจ กิตฺตโก (สังขเสนากุล). (2560). กระบวนการโยนิโสมนสิการกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายกเทศมนตรีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก. ชลบุรี: สำนักงานพระสอนศีลธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). ธรรมนูญชีวิต: พุทธจริยาธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4). (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก หน้า 49 (1 พฤษภาคม 2562).

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). การวิเคราะห์พหุระดับ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.

เอกศิษฏ์ เจริญธันยบูรณ์. (2559). บุคลิกภาพ ทักษะ และภาวะผู้นำของหัวหน้าทีมที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Comrey, A. L. & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.

Polit, D. & Beck, C. (2012). Data Collection in Quantitative Research. Wolters Kluwer Health. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.