การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของนโยบายการเงินสหรัฐอเมริกาและราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากต่างประเทศเพื่อพยากรณ์ราคารับซื้อทะลายปาล์มสดในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของนโยบายการเงินสหรัฐอเมริกาและสินค้าโภคภัณฑ์ต่อราคารับซื้อทะลายปาล์มสดในประเทศไทย 2) จำลองการเคลื่อนไหวและพยากรณ์ราคาทะลายปาล์มสดในประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยวิธี OLS จากข้อมูลทุติยภูมิรายเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 200 เดือน โดยใช้วิธีการเข้าถึงข้อมูลจากบริษัท ไทยเควสท์ จำกัด ด้วยกระบวนการทางคอมพิวเตอร์คือการทำ DDE Link (Dynamic data exchange link) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างโปรแกรมในระบบปฏิบัติการวินโดวส์กับโปรแกรม Aspen Graphics RTD โดยเป็นโปรแกรมเสริมเพื่อใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากระบบ Aspen ไปยังโปรแกรม Microsoft Excel ที่บริษัทมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ ผลการวิจัยพบว่านโยบายการเงินของสหรัฐอเมริกาและสินค้าโภคภัณฑ์จากต่างประเทศ มีความสัมพันธ์กับราคารับซื้อทะลายปาล์มสดในประเทศไทย โดยราคาน้ำมันปาล์มดิบมาเลเซีย ราคาทองคำโลก ราคาถ่านหิน ราคาก๊าซธรรมชาติ ราคายางพาราล่วงหน้าและราคาน้ำมันดิบ Brent มีความสัมพันธ์ทางบวกกับราคารับซื้อทะลายปาล์มสด ส่วนอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ทางลบ ในขณะที่การจำลองการเคลื่อนไหวของราคาทะลายปาล์มสดที่รับซื้อจริงกับการพยากรณ์ สมการสามารถอธิบายการแปรผันได้ 74.59% (R-squared = 0.745876) เมื่อตัวแปรต้นคือราคาน้ำมันปาล์มมาเลเซีย (CRUDE PALM OIL) ราคาถ่านหิน (NEWCASTLE COAL) ราคาก๊าซธรรมชาติ (NATURAL GAS) ราคาน้ำมันดิบ Brent (BRENT OIL) ราคายางพาราล่วงหน้า (RUBBER) อัตราดอกเบี้ย (FED FUNDS RATE) ราคาทองคำโลก (GOLD PRICE) เปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วยจะส่งผลให้ตัวแปรตามคือราคารับซื้อทะลายปาล์มสดเปลี่ยนแปลงไป 1.088788 -0.190701 0.160761 -0.126362 0.079611 -0.042723 และ -0.217183 ตามลำดับ
Article Details
References
เขมรัฐ ทรงอยู่. (2558). ความปกติในรูปแบบใหม่ (New Normal). Retrieved สิงหาคม 1, 2566, from https://www.scbeic.com/th/detail/product/1313
ชัยวัช โซวเจริญสุข. (2565). แนวโน้ม/ธุรกิจและอุตสาหกรรม ปี 2565-2567. ใน รายงานการวิจัย. อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม.
ณิชชา บูรณสิงห์. (2558). ปาล์มน้ำมัน : ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อการผลิตไฟฟ้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2566 จาก bot.or.th/th/thai-economy/regional-economy/southern-economy/the-state-of-southern-economy/Press_SO_Q1_66.html
ราชบัณฑิตยสภา. (2563). ระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา. เรียกใช้เมื่อ 15 สิงหาคม 2566 จาก https://transliteration.orst.go.th/search
วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ และคณะ. (2558). กลไกในการวิเคราะห์สถานการณ์ของราคาปาล์มน้ำมัน (วิจัยกรุงศรี). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อรัญญา ศรีวิโรจน์ และจิดาภา ช่วยพันธุ์. (2556). สถานการณ์น้ำมันปาล์มภายใต้ความไม่แน่นอนของโลก. เรียกใช้เมื่อ 15 สิงหาคม 2566 จาก https://www.ryt9.com/s/bot/1603827
Andrle, M., et al. (2015). The flexible system of global models–FSGM. IMF Working Paper 15/64. Washington, DC: International Monetary Fund.
Kiatmanaroch, T., & Sriboonchitta, S. . (2014). Dependence structure between crude oil, soybeans, and palm oil in ASEAN region: Energy and food security context. Modeling Dependence in Econometrics, AISC(251), 329-341.
Lian, W. (2022). Research on the Impact of Economic Policy Uncertainty on Commodity Prices. International Journal of Accounting and Financial Reporting, 12(3), 60662–60673.
Othman, N. & Masih, M. (2018). Granger-causality between palm oil, gold and stocks (islamic and conventional). Malaysia: evidence based on ARDL approach.
Stevens, M. L. (2009). Kingdom of children: Culture and controversy. In the homeschooling movement. Princeton University Press.