แนวทางการบูรณาการในการช่วยเหลือสุขภาพจิตและจิตสังคมของเยาวชนไทย ในจังหวัดปัตตานี

Main Article Content

อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต
ซัมซู สาอุ
พะเยาว์ ละกะเต็บ
มูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่จะส่งผลต่อสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนในจังหวัดปัตตานี 2) ค้นหาทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและจิตสังคมของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี และ 3) เสนอแนะแนวทางในการจัดการบูรณาการช่วยเหลือสุขภาพจิตและจิตสังคมของเยาวชนไทยในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม โดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ตัวแทนของหน่วยงาน 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงยุติธรรม จำนวน รวมทั้งหมด 60 คน การดำเนินกิจกรรมแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวมเพื่อค้นหาแนวทางในการดำเนินการร่วมกันในการคลี่คลายสถานการณ์สุขภาพจิตและจิตสังคมของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาเร่งด่วนที่นำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพจิตและจิตสังคมของเยาวชนไทยในจังหวัดปัตตานี 3 ลำดับแรก คือ 1) โรคเครียดและซึมเศร้าในเด็ก 2) ยาเสพติด และ 3) ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งแต่ละปัญหามีทั้งทรัพยากรทุน และหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบมากกว่า 1 หน่วยงาน แต่ขาดการบูรณาการทำงานร่วมกัน และปัญหาเร่งด่วนทั้งสามปัญหายังมีการแก้ไขปัญหาแบบแยกส่วนขาดจากกัน ทั้งที่ปัญหาดังกล่าวสามารถประสานและทำงานร่วมกันเพื่อให้สุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนไทยในจังหวัดมีแนวโน้มดีขึ้น ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้คิดว่า หากหน่วยงานจาก 4 กระทรวงหลักมีแนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันด้วยการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานจะทำให้การทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและจิตสังคมของเยาวชนจะดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน

Article Details

How to Cite
สมุห์เสนีโต อ., สาอุ ซ., ละกะเต็บ พ., & มูซอ ม. (2024). แนวทางการบูรณาการในการช่วยเหลือสุขภาพจิตและจิตสังคมของเยาวชนไทย ในจังหวัดปัตตานี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(2), 164–175. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/269071
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2564). สถิติความรุนแรงในครอบครัวประจำ 2564. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://opendata.nesdc.go.th/dataset/https-drive-google-com-file-d-16qsyunvqmzxnm4krc_5xee_zoxffxmg4-view-usp-sharing

กรมประชาสัมพันธ์. (2566). ของขวัญประชาชนชายแดนใต้ กรมสุขภาพจิต กรมการแพทย์ และ ศอ.บต. ผนึกกำลังดันการจัดตั้ง “โรงพยาบาลจิตเวชในพื้นที่ จชต. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2566 จาก https:// thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230323165722182

กรมสุขภาพจิต. (2565). สภาวะอารมณ์ที่ไม่คงที่ของวัยรุ่น. เรียกใช้เมื่อ 21 ตุลาคม 2566 จาก https:// dmh.go.th/news/view.asp?id=2503

กรมสุขภาพจิต. (2566). สุขภาพจิต คืออะไร. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://dmh.go.th/faq /mentalhealth.asp

กรมอนามัย. (2560). บันทึกข้อความที่ สธ 0926.02/8628 เรื่อง การบูรณาการ (Integration) กรมอนามัย วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560. เรียกใช้เมื่อ 21 ตุลาคม 2566 จาก https://dental.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/dental2/n1694_222c6a7c750ba6cbcc37f706c6e94ce5_article_20171121144500.pdf

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). ภาวะจิตสังคมของการเจ็บป่วย (Psychosocial aspect of illness). เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://www. rama.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/05302015-1735

รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม และทวีสิฏฐ์ บุญญาภิบาล. (2561). การพัฒนากระบวนการทำงานแบบบูรณาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้. เรียกใช้เมื่อ 21 ตุลาคม 2566 จาก https://www .opdc.go.t h/file/r eader/Q1o5fHw0 MDUxfHxma WxlX3VwbG9hZA

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ม.ป.ป.). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี : การบริหารราชการแบบบูรณาการ. เรียกใช้เมื่อ 21 ตุลาคม 2566 จาก http://web.sut.ac.th/qa/pdf/Knowledge-general/11-Plan_Official_Integrate.pdf

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2566). อนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย พ.ศ. 2576 (Futures of Mental Health in Thailand 2033). เรียกใช้เมื่อ 21 ตุลาคม 2566 จาก https://www.etda.or.th /th//Foresight/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). สถิติคดียาเสพติดของประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 21 ตุลาคม 2566 จาก http://ittdashboard.nso.go.th /preview.php?id_project=66

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2564). สุขภาพจิตกับระบบบริการปฐมภูมิ/เวชศาสตร์ครอบครัว. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 4(1), 4-7.

อรสา กนกวงศ์ และคณะ. (2553). The Synthesis of Health System under the violence Crisis in Southern Border Provinces Area. (การสังเคราะห์ระบบสุขภาพในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้). เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://kb.hsr i.or.th/dspace/han dle/ 11228/3014?locale-attribute=th

Löhr, K., Weinhardt, M., & Sieber, S. (2020). The “World Café” as a participatory method for collecting qualitative data. International journal of qualitative methods, 19(1), 1-15.

Mcclain-nhlapo, C & Tansanguanwong, P. (2021). Addressing psychosocial disabilities in the conflict-affected deep South of Thailand. Retrieved October 21 , 2023, from https://blogs.worldbank.org/th/eastasiapacific/idpd-2021-addressing-psychosocial-disabilities-conflict-affected-deep-south-thailand

World health organization. (2020). Shortage of personal protective equipment endangering health workers worldwide. Retrieved October 20 , 2023, from https://www.who.int/news-room/detail/03-03-2020-shortage-of-personal-protective- equipment-endangering-health-workers-worldwide