องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อยืนยันความเหมาะสมขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และการยืนยันความเหมาะโดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบมาตราส่วนประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น 5 ท่าน โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมชนิดมาตราส่วนประเมินค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่บงแบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1) การแก้ปัญหา 2) การคิด ประกอบด้วย การคิดวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ และ 3) การตัดสินใจ องค์ประกอบย่อย 12 องค์ประกอบย่อยและมีตัวบ่งชี้จำนวน 18 ตัวบ่งชี้อ 2) ผลยืนยันความเหมาะสมขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าค่าเฉลี่ยรวมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ( = 4.84, S.D. = 0.55) อยู่ในระดับมากที่สุด หมายความว่าทุกองค์ประกอบและตัวบ่งชี้มีสอดคล้องกันและส่งผลต่อการพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงสร้างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และมีกระบวนการที่เป็นขั้นตอนที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะเชิงสร้างสร้างสรรค์ในเชิงพฤติกรรม
Article Details
References
ทิศนา แขมมณี. (2560). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญารัตน์ โกมลเกียรติ. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นลินทิพย์ คชพงษ์ และวรรณี สุจจิตร์จูล. (2557). การศึกษาเอกลักษณ์ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ใน การประชุมวิชการระดับชาติ ครั้งที่ 7. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
พนม จองเฉลิมชัย. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับ นักศึกษาวิชาชีพครู. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชรา พุ่มพชาติ. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุสมีนี หะยียูโซ๊ะ. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สทศ). (2563). การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 (ปี 2559-2563). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สทศ).
สิทธิพร ผกากลีบ. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(3), 140-150.
Isaksen, S. G. & Treffinger, D. J. (2004). Celebrating50 years ofReflective Practice: Versionsof Creative Problem Solving. Retrieved October 5, 2009, from http://cpsb.com
Osborn, A. F. & Parnes, S. J. (1966). The Osborn-Parnes Creative Problem Solving Procedure. Munich: GRIN Verlag.
Torrance, E. P. (1965). Rewarding creative behavior: Experiments in classroom creativity. Englewood Cliffs, N.J: Prentice-Hall Inc.
World Economic Forum. (2018). The Future of Jobs Report. Retrieved October 5, 2022, from http://www3.weforum.org/docs/WEF_Future_of_Jobs_2018.pdf