การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองร่วมกับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ไพรัช เจริญตรีเพชร
รุ่งทิวา แย้มรุ่ง
กิตติชัย สุธาสิโนบล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ 2.1) การคิดเชิงคณิตศาสตร์ 2.2) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวที่มีการทดลองก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ม.5 มีจำนวน 35 คน ที่จัดการเรียนแบบคละความสามารถ ทดลองจำนวน 32 คาบ คาบละ 50 นาที ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 รวมทดสอบก่อนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดการคิดเชิงคณิตศาสตร์ และ แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มี 7 ขั้นตอน 1) วินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ 2) กำหนดปัญหา 3) วางแผนแก้สถานการณ์ปัญหา 4) ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้นอกชั้นเรียน 5) ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน 6) สรุปและนำเสนอผลงาน                 7) ประเมินผลการเรียนรู้ 2) ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า 2.1) คะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยก่อนทดลองเท่ากับ 18.69 (S.D.=4.40) ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยหลังทดลองเท่ากับ 48.81 (S.D. = 5.71) 2.2) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.76, S.D. = 0.46)

Article Details

How to Cite
เจริญตรีเพชร ไ., แย้มรุ่ง ร., & สุธาสิโนบล ก. (2023). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองร่วมกับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(12), 115–127. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/269585
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา นิลนวล. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพัฒนาการพุทธิปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2552). การเรียนรู้บนเครือข่าย. วารสารศึกษษศษสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(1), 6-13.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภัสสร วงษ์ดี. (2561). รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูสาขาช่างอุตสาหกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 109-126.

รุ่งทิวา นาบำรุง. (2550). วิถีธรรมชาติแห่งการคิดเชิงคณิตศาสตร์เรื่องการคูณและการหารของเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 7 - 10 ปี. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพมหานคร:: พริกหวานกราฟฟิค.

วีรยุทธ พลายเล็ก. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อเสริมสร้าง ทักษะและกระบวนการและจิตคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมคิด อิสระวัฒน์. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของคนไทยในชนบทซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหนคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุธินันท์ บุญพัฒนาภรณ์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2551). รวมบทความแนวคิดทางอาชีวศึกษาและการศึกษาผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร ม้าคนอง. (2558). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Joyce, B. R. et al. (2004). Models of teaching (7th ed ed.). Boston: Pearson/Allyn and Bacon.

Joyce, W. (2009). Model of teaching (5th ed ed.). Boston: Aliyn & Bacon.

Marlowe, C. A. (2012). The effect of the flipped classroom on student achievement and stress. In Master of Science Science Education. Montana State University.

NCTM. (2000). Principle and Standards for School Mathematics. United States of America: NCTM.

OECD. (2018). PISA 2018 results. Retrieved April 12 , 2021, from https://www.oecd.org /pisa/publications/pisa - 2018 - results.htm

Poya, G. (1957). How to Solve it. New York: Doubleday & Company.