ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการเรียนและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โดยจำแนกตามข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ด้วยการใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปและสภาพปัจจุบันที่เป็นจริงของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และวิเคราะห์ผลทางสถิติ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยสถิติที (T-Test) การทดสอบด้วยสถิติเอฟ (F-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) โดยกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 4 จำนวน 124 คน ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (95% ความเชื่อมั่น) คือ การพักอาศัย และที่ตั้งสถานศึกษาเดิม ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าการพักอาศัยเองของนักศึกษาที่มาจากต่างจังหวัด โดยไม่มีผู้ปกครองคอยดูแลใกล้ชิด ทำให้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และทำให้ทราบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา คือ การทำงานหารายได้พิเศษ และที่ตั้งของสถานศึกษาเดิม มีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมา คือ ชั้นปีที่ศึกษา และการศึกษาของผู้ปกครอง โดยมีตัวแปรอิสระ 4 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ซึ่งตัวแปรอิสระกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนถึงร้อยละ 91.2 และสามารถอธิบายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 82.6
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธรรมมา เจียรธราวานิช. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสาร RSU JET วิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(1), 21-27.
นวรัตน์ ศึกษากิจ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามความคิดเห็นของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาพาณิชยกรรมของโรงเรียนอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสยาม.
ปิยะพร บัวระพา และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์. (2543). เทคนิคการเลือกสถิติวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยพฤติกรรมสุขภาพ. วารสารเพื่อนสุขภาพ, 12(1), 54-57.
วิไลวรรณ สิริสุทธิ์. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 11(2), 80-85.
สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร. (2537). การนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 4(1),10-25.
สุรินทร์ นิยมางกูร. (2541). เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อนันต์ เกิดดำ. (2552). แนวทางการเลือกใช้สถิติในการวิจัย. วารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีขั้นสูง, 10(1), 8-14.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper Collins.
Fisher, M. J. & Marshall, A. P. (2009). Understanding Descriptive Statistics. Australian Critical Care, 22(2), 93-97.
Overholser, B. R. & Sowinski, K. M. (2007). Biostatistics Primer: Part I. Nutr Clin Pract, 22(6), 629-635.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.