การพัฒนารูปแบบหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วม ด้วยสบช.โมเดล 2022

Main Article Content

พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน
ศรีจันทร์ ฟูใจ
ศิวพงษ์ คล่องพานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วม ด้วยสบช.โมเดล 2022 ดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1) สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพชุมชน 2) พัฒนารูปแบบหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคแบบมีส่วนร่วม 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ ผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นตัวแทนครัวเรือนอายุ 15 ปีขึ้นไป คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 106 คน เครื่องมือเป็นแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ.2ส. ของกองสุขศึกษา ความเที่ยงของเครื่องมือ (reliability) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาสุขภาพชุมชน พบป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากเป็นอันดับหนึ่ง ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการกินอาหารที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพ 2) รูปแบบหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคแบบมีส่วนร่วม มีองค์ประกอบ 2.1) กำหนดเป้าหมายและความต้องการของชุมชน 2.2) พัฒนาแกนนำให้มีทักษะในการคัดกรองโดยใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี 2.3) มีเครือข่ายการดำเนินงานส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นหมู่บ้านรอบรู้ด้านสุขภาพ 2.4) กระบวนการสื่อสารเชื่อมต่อชุมชนและเครือข่าย 2.5) การออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2.6) ครัวเรือนมีการสร้างความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.7) ผลลัพธ์คือ ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ2ส และมีผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีขึ้น และ 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มากขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.001) ประชาชนมีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มากขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.001)

Article Details

How to Cite
อุ่นบ้าน พ., ฟูใจ ศ., & คล่องพานิช ศ. (2024). การพัฒนารูปแบบหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วม ด้วยสบช.โมเดล 2022. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(2), 324–335. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/270768
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2565). คู่มือการดำเนินงานสุขศึกษาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2565 จาก http://hed.go.th/linkHed/396

คณะพยาบาลศาสตร์. (2565). แนวทางการบูรณาการ สบช.โมเดลในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก.

นงลักษณ์ ตุ่นแก้ว และคณะ. (2561). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง3อ.2ส.1ย. และการใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(2), 83-95.

นาตยา เกรียงชยพฤกษ์. (2560). การศึกษากระบวนการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด:กรณีศึกษาจังหวัดตรัง. วารสารคณะพละศึกษา, 14(1), 28-38.

พิมพ์ใจ อุ่นบ้านและคณะ. (2564). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 13(2), 59-72.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ผาแหน. (2564). รายงานทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง. เชียงใหม่: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ผาแหน.

ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์. (2563). กระบวนการพยาบาลชุมชน : แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ดูแลสุขภาพประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริเนตร สุขดี. (2560). การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.). (2565). สุขภาพคนไทย 2566. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).