การเรียนรู้แบบอิสระในการพึ่งพาตนเอง กับความเข้าใจที่แท้จริง

Main Article Content

กัณฑิมา เผือกใต้
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
มนสิช สิทธิสมบูรณ์

บทคัดย่อ

การส่งเสริมการเรียนรู้แบบอิสระในการพึ่งพาตนเอง เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญต่อการพัฒนาของผู้เรียน เพราะการพึ่งพาตนเองหมายถึงการมอบความอิสระในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ กับให้ผู้เรียนได้อย่างแท้จริงได้ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมที่ท้าทายสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญเมื่อโตขึ้น การพึ่งตนเองของผู้เรียน เป็นการศึกษาที่ได้รับการเรียนรู้ โดยเน้นการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่กว้างขวาง และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามความรู้ความสามารถ และศักยภาพของตนเองได้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จักควบคุมการเดินทางชีวิตของตนเอง ช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น ไปจนถึงความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายอย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครูผู้สอน อาจารย์ ควรแนะนำให้รู้จักพึ่งพาตนเองแบบภาวะอิสระ ที่เป็นความเข้าใจอย่างแท้จริงร่วมกันได้ ปัจจัยเชิงสาเหตุของการพึ่งตนเองของผู้เรียน ประกอบไปด้วย 2 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 คือ ปัจจัยด้านสถานการณ์กับการพึ่งตนเองของผู้เรียน ประกอบไปด้วย 1.1) การสนับสนุนจากครอบครัวและโรงเรียน 1.2) การมีตัวแบบที่ดีจากผู้ใกล้ชิด     1.3) การรับอิทธิพลจากสื่อ online 1.4) บรรยากาศ วัฒนธรรมของสถานศึกษา และ 1.5) การบริหารจัดการของสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพึ่งตนเอง และด้านที่ 2 คือ ปัจจัยด้านจิตลักษณะกับการพึ่งตนเองของผู้เรียน ประกอบไปด้วย 2.1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 2.2) การมุ่งอนาคตและควบคุมตนการมุ่งอนาคตควบคุมตน 2.3) การเชื่ออำนาจในตนต่อการพึ่งตนเองกับการพึ่งตนเองของผู้เรียน 2.4) ทัศนคติต่อการพึ่งตนเอง และ 2.5) ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพึ่งตนเอง

Article Details

How to Cite
เผือกใต้ ก., ธำรงโสตถิสกุล ว., & สิทธิสมบูรณ์ ม. (2024). การเรียนรู้แบบอิสระในการพึ่งพาตนเอง กับความเข้าใจที่แท้จริง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(2), 1–10. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/270778
บท
บทความวิชาการ

References

ฉลาด สมพงษ์. (2562). การเรียนรู้ยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาชาติ อินทโชติ. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบยูเลิร์นนิงด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 15-26.

มัณทรา ธรรมบุศย์. (2544). แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบ / ลีลา การเรียนรู้ (leanings). เรียกใช้เมื่อ 26 มกราคม 2567 จาก https://sites.google.com/a/phusang.ac.th/krukanokwanscience_pwk/how-to-lear/rup-baeb-kar-reiyn-ru

วันวิสาข์ เคน. (2559). การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ Open worlds.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). การประยุกต์ใช้ Teach Less, Learn More (TLLM) สู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์, 23(1), 1-11.

ศักดิ์คเรศ ประกอบผล. (2564). นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ หจก.วรานนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์.

Fleming, N. D. & Mills, C. (1999). VARK a guide to learning styles. Retrieved January 29, 2024, from https://https://vark-learn.com/introduction-to-vark/the-vark-modalities/

Mourned, D. (2009). Project-Based Learning: Using Information Technology. New Delhi: VinodVasishtha for Viva Books l Private limited.