การวางแผนสื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Main Article Content

เมธาวิน สาระยาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแนวทางในการวางแผนสื่อประชาสัมพันธ์ 2) สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการวางแผนสื่อประชาสัมพันธ์ 3) จัดทำแผนสื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี การวิจัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มโดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บุคลากรจากกลุ่มงานสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัย จำนวน 4 คน ตัวแทนบุคลากรที่ดำเนินโครงการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 8 คน และเครือข่ายชุมชนที่ร่วมโครงการครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เลือกศึกษาจำนวน 16 พื้นที่ เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญพื้นที่ละ 5 คน รวมจำนวน 80 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม พบว่า 1) แนวทางการวางแผนสื่อประชาสัมพันธ์ เน้นสื่อที่อยู่ในพื้นที่ ได้แก่ หอกระจายข่าว สื่อสังคมออนไลน์ รายการวิทยุกระจายเสียง ตามลำดับ สื่อดังกล่าวมีลักษณะใกล้ชิดกับคนในชุมชน เป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว มีข้อเสนอแนะให้มีการใช้สื่อที่หลากหลาย มีความถี่ที่เหมาะสม มีการออกแบบเนื้อหาให้น่าสนใจ 2) เครือข่ายการวางแผนประชาสัมพันธ์ มีการตั้งกลุ่มสมาชิกแบบไม่เป็นทางการ และสื่อสารผ่านผู้นำชุมชน มีกลไกของชุมชน และระบบราชการเข้ามาประกอบ มีส่วนร่วมด้วยการเข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็น และปฏิบัติตามข้อสรุป มีการส่งเสริมความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์ เช่น การออกแบบเนื้อหา เทคนิคการถ่ายภาพ/วิดีโอ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ 3) การจัดทำแผนสื่อประชาสัมพันธ์ เน้นแผนที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ไม่ตายตัว สื่อที่มีความเหมาะสมที่นำมาใช้ในพื้นที่ได้แก่ รายการเสียงตามสายผ่านหอกระจายข่าว สื่อสังคมออนไลน์ รายการวิทยุกระจายเสียง และต้องมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอในการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์

Article Details

How to Cite
สาระยาน เ. (2024). การวางแผนสื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(2), 285–295. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/271135
บท
บทความวิจัย

References

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579). (ฉบับปรับปรุง 11ตุลาคม 2561). (คู่มือ). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏ.

ต่วนเปาซี กูจิ. (2554). การบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่าย : กรณีศึกษาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนสำนักงานปฏิบัติการภาคใต้. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทรัพย์ อมรภิญโญ. (2565). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โครงการหนองคายโมเดล. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14 (3), 323-337.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ภาพการพิมพ์.

ประภาศรี สวัสดิ์อำไพรักษ์. (2562). ความหมายและความสำคัญของการประชาสัมพันธ์. เรียกใช้เมื่อ 11 เมษายน 2566 จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/Unit8/SUBM1/U811-1.htm

พรจิต สมบัติพานิช. (2547). โฆษณาในทศวรรษที่ 2000-2010 : การศึกษาถึงปัจจัยด้านสื่อที่มีต่อรูปแบบโฆษณา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภากรณ์ โพธะ. (2564). การพัฒนาชุดสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับกการท่องเที่ยวในชุมชนจังหวัดชุมพร. ใน วิทยาานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการออกแบบเพื่อธุรกิจ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มณุเชษฐ์ มะโนธรรม. (2555). การใช้สื่อมวลชนในงานสาธารณสุข. เรียกใช้เมื่อ 12 เมษายน 2566 จาก https://www.gotoknow.org/posts/513886

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2561). พันธกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เรียกใช้เมื่อ 11 เมษายน 2566 จาก https://www.pbru.ac.th/pbru/resolution

สายฝน แสนใจพรม. (2559). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 17 (2), 101-109.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2552). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีรัตน์ พิมพ์นวน และ วิทยา พานิชล้อเจริญ. (2560). การมีส่วนร่วมเพื่อการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน กรณีศึกษา: โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. ใน รวมบทความวิจัยการสื่อสารศึกษา ปี พ.ศ. 2560. คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.