ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ของประชาชนวัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ของประชาชนวัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย ความรอบรู้สุขภาพ แรงจูงใจในการป้องกันโรค และแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 20 - 59 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคโควิด19 จำนวน 544 คน ได้มาโดยการสุ่มระหว่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL ผลการวิจัยพบว่า โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ χ2 = 236.48, df = 119 χ2/df = 1.987, p = 0.00 CFI = 1.00 GFI = 0.96 AGFI = 0.93 TLI = 1.00 NFI = 1.00 RMSEA = 0.043 RMR = 0.011 โดยปัจจัยความรอบรู้สุขภาพ (r2 = 0.39) และแรงจูงใจในการป้องกันโรค (r2 = 0.54) มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 (r2 = 0.78) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ได้ร้อยละ 78.0 ผลจากการวิจัยครั้งนี้ นำผลการวิจัยไปกำหนดนโยบาย การส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคโรคโควิด19 โดยเน้นในเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ การสร้างเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรค แรงสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิดและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ให้ประชาชนวัยทำงานมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้ระบบการบริหารจัดการ โดยการเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายของชุมชน
Article Details
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. เรียกใช้เมื่อ 28 สิงหาคม 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/
ชญานิศ ศุภนิกร และคณะ. (2562). โปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมชะลอการเสื่อมของไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในชุมชน. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 7(1), 1-14.
ตวงพร กตัญญุตานนท์ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 7(1), มกราคม-มิถุนายน.
นงณภัทร รุ่งเนย เเละคณะ. (2564). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 14(2), 17-37.
ปราณี ภาโสม. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้มารับบริการคลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนคร. ใน รายงานการวิจัย. กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลสกลนคร.
พรทิวา คงคุณ และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้จำหน่ายอาหาร จังหวัดนราธิวาส. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(3), 133-146.
ส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). ระบบสถิติทางการทะเบียน. เรียกใช้เมื่อ 10 มีนาคม 2565 จาก https://stat.bora.dopa.go.th/
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). ความหมายนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก https://www.thaihealth.or.th
สำนักงานสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 6. (2563). เอกสารสรุปผลการดำเนินงานเขตสุขภาพที่ 6 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. เรียกใช้เมื่อ 10 มีนาคม 2565 จาก http://region6.cbo.moph.go.th
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ในจังหวัดสมุทรปราการ. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2564 จาก http://www.spko.mop.go.th
องค์การอนามัยโลก. (1998). นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ ฉบับปรับปรุงใหม่.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill Book Company.
Hair, J. F.et al. (2010). Multivariate Data Analysis (7 th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
House, J. S. (1981). Measures and concepts of social support: Social supportand health. Florida: Academic Press.
Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion international, 15(3), 259-267.
Roger, R.W. (1986). Protection Motivation Theory. Health Education Research Theory and Practice, 1(1986), 153–161.
Rogers, R. W. (1975). A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. Journal of Psychology, 91(1), 93-114.
World Health Organization (WHO). (2020). Coronavirus (COVID-19) Dashboard Measures. Retrieved May 7 , 2023, from https://covid19.who.int/measures