มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครอง ป้องกันการนำเข้าข้อมูลส่วนบุคคลทางคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความแตกต่างของมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศและประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองการนำเข้าข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดของมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองการนำเข้าข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ 3) เสนอแนวทางการแก้ไขมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จำนวน 12 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของต่างประเทศ เน้นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นอาชญากรรม เป็นภัยร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ระดับการคุ้มครองสูงกว่ากฎหมายของประเทศไทย ตระหนักถึงความรุนแรงของผลที่ตามมา มีบทลงโทษตามระดับความเสียหาย มีค่าปรับสูง แต่กฎหมายของประเทศไทยมองว่าอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาเฉพาะกลุ่ม ไม่ส่งผลกระทบในวงกว้าง เน้นความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง บทลงโทษเน้นการจำคุก ปัญหาของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คำจำกัดข้อมูลส่วนบุคคลไม่ชัดเจน สร้างความสับสนกับองค์กรในการนำเข้าข้อมูล ยากต่อการบังคับใช้กฎหมาย มีการบัญญัติถึงการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ แต่ไม่เน้นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บทลงโทษไม่รุนแรง ไม่สามารถยับยั้งการละเมิดกฎหมายได้ แนวทางการแก้ไขกฎหมายในการคุ้มครองการนำเข้าข้อมูลส่วนบุคคลทางคอมพิวเตอร์ คือ ควรการแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ให้มีความชัดเจน เพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงขึ้น พัฒนากลไกการติดตามและตรวจสอบประสิทธิภาพ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ
Article Details
References
เครือข่ายพลเมืองเน็ต. (2557). การละเมิดความเป็นส่วนตัวออนไลน์ในสังคมไทย พ.ศ. 2556. เรียกใช้เมื่อ 13 ธันวาคม 2565 จาก https://thainetizen.org/wp-content/uploads/2014/03/ thainetizen-privacy-report-2013.pdf
ณัฐสุดา อัคราวัฒนา และธานี วรภัทร์. (2561). การกำหนดความผิดทางอาญาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นิกร โภคอุดม. (2563). ความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(2), 59-69.
ปัทมา มัญชุนากร. (2565). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในเครือข่ายสังคมออนไลน์: ศึกษากรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหลายราย. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(47), 89-107.
พัฒนะ ศุกรสุต. (2563). “ชีวิตวิถีใหม่” อยู่ภายใต้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ แนะออกแบบระบบรองรับทำงานได้แม้ถูกโจมตีผู้จัดการออนไลน์ 2 มิถุนายน 2563. เรียกใช้เมื่อ 13 ธันวาคม 2565 จาก http://www. mgronline.com/onlinesection/detail/9630000063688
รุ่งอรุณ รุ่งทองคำกุล. (2558). ปัญหาทางกฎหมายอันเกิดจากการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กจากการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สาวิตรี สุขศรี และปวีร์ เจนวีระนนท์. (2566). ความรู้ทางกฎหมายหลากหลายและเข้าใจง่าย ชุดที่ 20: Cyber Crime เมื่อโลกออนไลน์เต็มไปด้วยอาชญากรรม: อาชญาวิทยาและบทบาทของกฎหมาย. ปทุมธานี: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนทร เปลี่ยนสี. (2551). แนวความคิดและหลักการของกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
อุษณีย์ ตันสูงเนิน. (2565). มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต และการคุ้มครองเด็ก และเยาวชนที่ถูกกลั่นแกลงผ่านไซเบอร์. วารสารปัญญาปณิธาน, 7(1), 31-40.
Atta Ul Haq, Q. (2021). Cyber crime and their restriction through laws and techniques for protectingsecurity issues and privacy threats. In In Security Issues and Privacy Threats in Smart Ubiquitous Computing (pp. 31-63). Singapore: Springer.
Grujić, Z., & Blagić, P. D. (2019). Incriminations Against Security of Computer Data–Effectiveness of Criminal Justicemechanism Directed on Cyber Crime. Archibald Reiss Days, 8(1), 293-304.
Nwankwo, W., & Ukaoha, K. C. (2019). Socio-technical perspectives on cybersecurity: Nigeria’s cybercrime legislation in review. International Journal of Scientific and Technology Research, 8(9), 47-58.