ชีวิตหลังความตายในกวีนิพนธ์ของ กานติ ณ ศรัทธา

Main Article Content

เบญจรัตน์ กวีนันทชัย
อุมารินทร์ ตุลารักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวิตหลังความตายในกวีนิพนธ์ของกานติ ณ ศรัทธา โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายตามทัศนะทางปรัชญา และตามหลักพระพุทธศาสนา โดยศึกษาจากกวีนิพนธ์ จำนวน 4 เล่ม ได้แก่ แก่ขึ้นตามลำพัง หมายเหตุจากสวนโมกข์ ที่ซึ่งขุนเขาทะลุเมฆ และรายงานจากหมู่บ้าน ผลการวิจัยพบว่า ชีวิตหลังความตาย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) ชีวิตหลังความตายของวิญญาณที่เป็นอมตะ ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะทางปรัชญากลุ่มจิตนิยมในประเด็นว่าด้วยความเป็นอมตะของชีวิตส่วนวิญญาณ ซึ่งเป็นชีวิตที่แท้จริงอันไม่เสื่อมสลายไปตามร่างกาย และสามารถดำรงอยู่ต่อได้ในทั้งโลกมนุษย์และโลกวิญญาณ แบ่งออกเป็น 1.1) ชีวิตอมตะของวิญญาณในโลกมนุษย์ และ 1.2) ชีวิตอมตะของวิญญาณในโลกวิญญาณ 2) ชีวิตหลังความตายที่มีการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะทางพระพุทธศาสนาในประเด็นว่าด้วยการเวียนว่ายตายเกิดและกฎแห่งกรรม แบ่งออกเป็น 2.1) การเกิดใหม่ในโลกมนุษย์ และ 2.2) การเกิดใหม่ในภพภูมิอื่น และ         3) การหลุดพ้นหรือนิพพาน ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะทางพระพุทธศาสนาในประเด็นว่าด้วยเป้าหมายสูงสุดของชีวิต จากการศึกษาทำให้เห็นได้ว่า กานติ ณ ศรัทธา มุ่งเสนอให้เห็นถึงสัจธรรมของชีวิต ความสัมพันธ์และความสมดุลระหว่างชีวิตมนุษย์กับธรรมชาติผ่านบทกวี รวมทั้งสอดแทรกหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันช่วยให้คนในสังคมดำเนินชีวิตตามทางที่ถูกต้องและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และเห็นถึงคุณค่าของเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาคือ นิพพาน ถือว่าเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าสร้างความรู้ความเข้าใจในความจริงเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย

Article Details

How to Cite
กวีนันทชัย เ., & ตุลารักษ์ อ. (2024). ชีวิตหลังความตายในกวีนิพนธ์ของ กานติ ณ ศรัทธา. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(3), 88–97. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/271865
บท
บทความวิจัย

References

กานติ ณ ศรัทธา. (2541). แก่ขึ้นตามลำพัง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อ.

กานติ ณ ศรัทธา. (2547). ที่ซึ่งขุนเขาทะลุเมฆ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์บุ๊คส์.

กานติ ณ ศรัทธา. (2548). หมายเหตุจากสวนโมกข์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ใบไม้ผลิ.

กานติ ณ ศรัทธา. (2550). รายงานจากหมู่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: ใบไม้ผลิ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด .

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2555). ประโยชน์สูงสุดของชีวิตนี้. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

พระมหารบ ธมฺมธโร (หิรัญชาติ). (2547). มโนทัศน์เกี่ยวกับความตายในพระพุทธศาสนา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ใน วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ฟื้น ดอกบัว. (2557). แนวความคิดเกี่ยวกับสังสารวัฏ: การเวียนว่ายตายเกิดในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: ศยาม.

วรรณวิสาข์ ไชยโย. (2563). ทัศนคติที่มีต่อความหมายของชีวิตและความตายของวัยรุ่น. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 . มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วรัชยา เลี่ยวเทียนไชย. (2564). ช้างบิน และ กล่องตุ๊กตาใสกับจดหมายของพ่อ: ความตายในวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว. วารสารไทยศึกษา, 17(2), 127-150.