กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทางธุรกิจในการปรับเปลี่ยน วิถีการผลิตเพื่อยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่น และคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการ ชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่เทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

จิตติมา ดำรงวัฒนะ
ประนอม การชะนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินศักยภาพ และศึกษากระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทางธุรกิจในการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตเพื่อยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่น และคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่เทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการศึกษาวิธีวิจัยแบบผสมผสานเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยเครื่องมือแบบสอบถามโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามกำหนดสัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากร เท่ากับ 0.5 เป็นจำนวน 169 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเแบบสัมภาษณ์การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจของชาวสวนมะพร้าวมะพร้าว จำนวน 25 คน พบว่า ศักยภาพด้านการผลิตของผู้ประกอบชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่เทศบาลเมืองปากพูนมีผลผลิตมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.07,SD = 0.67) ขั้นตอนหรือกระบวนการในการผลิต และมีการพัฒนาผลผลิตของสมาชิกเครือข่ายทางการตลาดอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.03, SD = 0.76) เป็นลำดับรองลงมา รวมถึงศักยภาพด้านประสิทธิภาพการจัดการความรู้ของผู้ประกอบชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่เทศบาลเมืองปากพูนมีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการปลูกมะพร้าวแก่ลูกหลานหรือเครือญาติ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.07, SD = 0.67) ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำสวนมะพร้าว เช่น วิธีการปลูกการเก็บเกี่ยวผลผลิต การรักษาผลผลิต การจำหน่ายผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.05 , SD = 0.70) การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนสวนมะพร้าวด้วยวิธีการ “เดินเยี่ยมสวน ชวนกันคุย ลุยเนื้องาน พัฒนาน้ำตาล จัดการผลผลิต” เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่เอื้อต่อระบบการจัดการศึกษา ข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งต่อไป คือ การพัฒนาเครือข่ายสู่การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ของผู้ประกอบการสวนมะพร้าวให้มีความรู้อย่างครบวงจร

Article Details

How to Cite
ดำรงวัฒนะ จ., & การชะนันท์ ป. (2024). กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทางธุรกิจในการปรับเปลี่ยน วิถีการผลิตเพื่อยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่น และคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการ ชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่เทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(5), 96–108. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/272907
บท
บทความวิจัย

References

จํานงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2558). การวิจัยชุมชน โดยชุมชนและเพื่อชุมชน ในยุครวมกลุ่มเป็นชุมชนเครือข่ายเศรษฐกิจและสังคมอาเซียน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย .

จิตติมา ดำรงวัฒนะ. (2562). เครือข่ายซอแรง: การพัฒนาขีดความสามารถด้านการจัดการกลุ่มอาชีพ กรณีศึกษา วิสาหกิจกลุ่มกล้วยกรุงชิง ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน การประชุมระดับชาติ การบริหารการพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร ประจำปี 2562 (231-242) จังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ .

ชิตชยางค์ ยมาภัย และพูธ คูศรีพิทักษ์. (2562). ‘ผู้กบฏ’ ปะทะ ‘นักปฏิรูป’: ยุทธการสืบสานวัฒนธรรมในสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(3), 48-62.

นฤพันธ์ สมเจริญ. (2565). นวัตกรรมการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทางสังคมตามหลักอารยธรรมวิถีสี่ครูบาในจังหวัดลำพูน. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปรารถนา มินเสน. (2560). ความรู้ความเข้าใจในการสร้างแผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 15(1), 93-101.

พระครูใบฎีกาศักดิ์ดา กิตฺติสมฺปนฺโน (เหลาลาภะ). (2564). การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายชุมชนคุณธรรมต้นแบบเชิงพุทธ ในอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น, 5(2), 129-139.

พระสมชาย จนฺทสาโร. (2562). บทบาทของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนสุขฤดีแขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพ็ญนภา สวนทอง. (2562). นิเวศวิทยาการเมืองของการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เริงวิชญ์ นิลโคตร และคณะ. (2564). แนวทางการพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชาวผู้ไทยบ้านคำกั้ง อำเภอกุฉินนารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 5(2), 1-18.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.