การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้วิธีการเรียนรู้การคูณญี่ปุ่นแบบใช้เส้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลนครหาดใหญ่ (นะ สุวรรณวงศ์)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้การคูณญี่ปุ่นแบบใช้เส้น กับการจัดการเรียนรู้การคูณแบบปกติ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การคูณญี่ปุ่นแบบใช้เส้น โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบเชิงทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนอนุบาลนครหาดใหญ่ (นะ สุวรรณวงศ์) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่ายแบบจับสลาก จำนวน 2 ห้อง โดยนักเรียนแต่ละห้องเป็นการเรียนแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การคูณญี่ปุ่นแบบใช้เส้น แผนการจัดการเรียนรู้การคูณแบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ 0.67 - 1.00, ค่าความยากง่ายมีค่า 0.31 - 0.75, ค่าอำนาจจำแนกมีค่า 0.33 - 0.79 มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.79 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลอง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้การคูณญี่ปุ่นแบบใช้เส้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้การคูณแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การคูณญี่ปุ่นแบบใช้เส้น อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.73)
Article Details
References
จุฑามาศ แกล้วทนงค์ และกรวิภา สรรพกิจจำนง. (2565). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้สื่อประสม ชุดการคูณแสนสนุกกับการสอนแบบปกติ. เรียกใช้เมื่อ 3 ตุลาคม 2566 จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/253178.
น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ. รายงานการวิจัยสำนักวิทยบริการ, 2(1), 8-10.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พล เหลืองรังษี. (2564). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.
โยธิน ศิริเอ้ย. (2559). ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รหัสวิชา ง32101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559. เรียกใช้เมื่อ 9 ตุลาคม 2566 จาก https://www.thoengwit.ac.th/projectkru/projdoc/55.pdf.
รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันนิสา คลังคนเก่า. (2563). การใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การคูณที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. เรียกใช้เมื่อ 25 ตุลาคม 2566 จาก http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25640629_144607_3725.pdf.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.scimath.org/e-books/8922/flippingbook/index.html#1.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). รายงานการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา 2565. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2566 จาก http://180.180.244.43/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx.
Abuja, G. (2022). The Effect of Japanese Multiplication on Pupils Interest in Mathematics. ResearchGate, 2(1), 13-19.
Garain, D. & Kumar, S. (2019). Japanese vs Vedic Methods for Multiplication. International Journal of Mathematics Trends and Technology, 1(1), 56-57.
Nandi, B. (2022). It’s not magic, it’s math-how the Japanese multiplication method works. Joseph Sarwuan Tarka, 1(1), 1-4.
Tyovenda, A. (2022). The Effect of Japanese Multiplication on Students’ Achievement And Retention In Mathematics. International Research Journal of Modernization in Engineering Technology and Science, 6(2), 1-3.