การพัฒนารูปแบบการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา พื้นฐานศิลปะและการออกแบบกราฟิก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่า t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบฯ
ที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) วัตถุประสงค์ 1.2) เนื้อหา 1.3) กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 1.4) เทคโนโลยีดิจิทัล 1.5) บทบาทผู้เรียนและผู้สอน และ 1.6) การวัดและประเมินผล และมีขั้นตอนการเรียนการสอนของรูปแบบ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นตอนที่ 2 ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย
6 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ นำเข้าสู่บทเรียน กำหนดปัญหาหรือเป้าหมาย ศึกษาค้นคว้า ระดมความคิด สร้างสรรค์ผลงาน นำเสนอผลงาน และขั้นตอนที่ 3 ขั้นสรุป และ 2) นักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.68)
Article Details
References
เจนจิรา เงินจันทร์. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในศตวรรษที่ 21. วารสารการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2561(1), 17-22.
นิพาดา ไตรรัตน์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 21(2), 130-142.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อการสร้างองค์ความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ทุนอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยสำหรับครู. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
ประภัสสร เพชรสุ่ม. (2558). กระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 18 สิงหาคม 2564 จาก https://prapatsorn32.wordpress.com/2015/05/13/กระบวนการคิดวิเคราะห์เ/
วนาลี วรรณสิน และคณะ. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อเสริมสร้างทักษะวิถีแห่งการคิดเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 132-151.
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2558). สสค.ร่วมพัฒนาทักษะความคิดของเด็กและเยาวชน. เรียกใช้เมื่อ 18 สิงหาคม 2564 จาก https://www.thaihealth.or.th/สสค-ร่วมพัฒนาทักษะความค/
สุนทร พลเรือง. (2563). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกวิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook และ Google Classroom ควบคู่กับการสอนปกติ. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 97-106.
อัญญาณี สุมน และอุทิศ บำรุงชีพ. (2561). วิถีแห่งการคิดทางคณิตศาสตร์โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับการศึกษาไทย 4.0. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 13(2), 14-29.
อารี พันธ์มณี. (2545). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ใยไหม.
Bonwell, C. C. & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report No. 1. Washington, D.C.: The George Washington University, School of Education and Human Development.
Guilford, J. P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill Book Co.
Joyce, B. & Weil, M. (1996). Models of Teaching. (5thed.). NeedhamHeights, MA: Allyn and Bacon.
Tracey, M. W. & Richey. R. C. (2007). ID Model Construction and Validation: A Multiple Intelligences Case. Educational Technology Research and Development, 55(4), 369-3900.