กลยุทธ์การบริหารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของกรุงเทพมหานครตามแนวคิด การเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดกลยุทธ์การบริหารศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของกลยุทธ์การบริหารศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมเชิงพหุระยะ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 212 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คนเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมิน มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบัค เท่ากับ 0.92, 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย แนวคิดการบริหารศูนย์การเรียนรู้ชุมชน แนวคิดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ และแนวคิดการพัฒนากลยุทธ์ 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของกลยุทธ์การบริหารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.63, S.D. = 0.69) โดยพบว่าคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านสุขภาพ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านสังคม อยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง 3) กลยุทธ์การบริหารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม 2) สร้างเครือข่ายการประกอบอาชีพที่เหมาะสมสำหรับวัยของผู้สูงอายุ 3) จัดกิจกรรมทางสังคมอย่างมีความสุขสำหรับผู้สูงอายุ 4) จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ
Article Details
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการผู้สูงอายุ.
จิรศักดิ์ ประทุมรัตน์ และคณะ. (2563). การพัฒนาระบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 491-511.
จุฑามาส โหย่งไทย. (2563). การบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลนคร. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธิติรัตน์ เหล่าพฤฒาจารย์ และจิรัชญา เหล่าพฤฒาจารย์. (2565). การพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตามนโยบายองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(3), 144-158.
เพชรา บุดสีเทา. (2565). การพัฒนาทักษะอาชีพทางการตลาดผู้สูงอายุ: การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒพลัง สำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการตาดและการจัดการ, 9(1), 159-174.
มิ่งขวัญ คงเจริญ และกัมปนาท บริบูรณ์. (2564). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 22(1), 135-149.
เรือนทอง ไวทยะพานิช. (2563). การพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2566 จาก http://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4185
วีนัส ธรรมสาโรรัชต์. (2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมตามหลักภาวนา 4 ของผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(3), 77-89.
วีรวัฒน์ เข็มแข็ง และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 33(3), 60-70.
สาธิมาน มากชูชิต และคณะ. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลนครยะลา โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร, 7(1), 142-159.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2562). แผนสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
สุปราณี พิมพ์ตรา และคณะ. (2561). การเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหาดวอนนภา ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์, 29(2), 175-187.
อโณทัย ดวงดารา. (2566). แนวทางการบริหารภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 175-184.
อนันต์ อนันตกูล. (2566). สังคมสูงวัย ความท้าทายประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.). New York: Harper& Row.
Department of Older Persons. (2023). Statistics of elderly population in Bangkok as of December 2022. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Thiansawat, S. (2019). Examination of content validity. Retrieved November 10, 2021, from ww.nurse.cmu.ac.th/ web/images/userfiles/files/Research/FacultyResearch Discussion%20-%20content%20validation%20-%20%E0%B8%A1%E0%B8%84% 2062.pdf.
Wongwanit. S. (2007). Needs assessment research. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
World Economic Forum. (2020). Schools of the Future: Defining New Models of Education for the Fourth Industrial Revolution. Geneva: World Economic Forum.
World Health Organization. (2021). Age-friendly environments in Thailand: Current situation and future directions. Geneva: World Health Organization.