ลักษณะและคุณประโยชน์ของภูมิปัญญาดั้งเดิมในการดูแลสุขภาพตา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ใช้ในการดูแลสุขภาพตา
2) เพื่อวิเคราะห์คุณประโยชน์ของภูมิปัญญาดั้งเดิมในการดูแลสุขภาพตา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ปราชญ์ชุมชน และผู้รู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาดั้งเดิม จำนวน 89 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง แนวคำถามเกี่ยวกับฐานคิด และลักษณะภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพตา การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล ใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Method) ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการดูแลสุขภาพตา เป็นการแพทย์ที่เป็นศาสตร์ หรือเทคนิคการบำบัดทางเลือกในการดูแลสุขภาพตา จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) การบ่งต้อ 2) การใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตา ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การรับประทาน การประคบที่เปลือกตา และการประคบนิ้วเท้าที่ส่งผลต่อตา 3) การนวดหน้านวดศีรษะเพื่อสุขภาพตา และ 4) การใช้สมาธิกับการมองเห็น คุณประโยชน์ของภูมิปัญญาดั้งเดิมในการดูแลสุขภาพตา ช่วยชะลอความเสื่อมของตา โดยการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต การบำรุงเนื้อเยื่อตา และการผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา ปัจจุบันยังพบการใช้ภูมิปัญญาเหล่านี้อยู่ทั่วประเทศ และมีคุณประโยชน์ในการนำไปใช้ ที่สอดคล้องกับเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้แพทย์ทางเลือก ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ (Rational) ความปลอดภัย (Safety) การมีประสิทธิผล (Efficacy) และมีความคุ้มค่า (Cost-Benefit-Effectiveness) ควรมีการศึกษากลไกการบำบัดที่สามารถอธิบายได้โดยการใช้กระบวนการ ค้นหาคำตอบ และพิจารณาความเหมาะสมของช่วงเวลาในระยะการดำเนินโรค ในการนำภูมิปัญญาไปใช้ดูแลสุขภาพตาคู่ขนานกับการแพทย์สมัยใหม่
Article Details
References
กรมผู้สูงอายุ. (2564). โรคตาในผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2567 จาก https://www.dop.go.th
จรินทร์ธร ฟักคำ และคณะ. (2564). การดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 7(2), 125-135.
เทวัญ ธานีรัตน์. (2567). การแพทย์ทางเลือก คืออะไร. เรียกใช้เมื่อ 13 พฤษภาคม 2567 จาก http://www.msdbangkok.go.thMedicine.htm
ธรรมทัศน์ ธรรมปัญญวัฒน์. (2567). ช่องว่างการเข้าถึงบริการของผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 13 พฤษภาคม 2567 จาก https://prachatham.com
ปวริศา ทันเจริญ. (2566). ประสบการณ์เกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพจากสายตาเลือนรางของผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นแผนกผู้ป่วยนอกจักษุโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 8(2), 31-43.
ปัญญเดช พันธุวัฒน์ และคณะ. (2562). กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 13(1), 149-270.
ภุชงค์ เดชอาคม. (2564). ระบบไหลเวียนเลือด กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทนานมีบุ๊คส์.
ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย. (2567). ประกาศเรื่องการรักษาโรคกลุ่มต้อลมและต้อเนื้อด้วยการบ่งต้อด้วยหนามหวาย. เรียกใช้เมื่อ 13 พฤศภาคม 2567 จาก https://web.facebook.com/RCOPThailand
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต. (2567). เรื่องของดวงตาสำคัญต้องหมั่นสังเกตอย่าชะล่าใจ. เรียกใช้เมื่อ 13 พฤษภาคม 2567 จาก https://ch9airport.com/th
ศลิษา ฤทธิมโนมัย และคณะ. (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ: การวิเคราะห์ผลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2545-2560. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 18(1), 109-135.
สามารถ ใจเตี้ย และณัทธร สุขสีทอง. (2565). ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา: การปฏิบัติเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(2), 242-259.
อายุพร ประสิทธิเวชชากูร. (2557). สุขภาพทางเลือกกับมุมมองในการพิจารณาเลือกใช้ที่ไม่ควรมองข้าม Alternative Health and Perspective to Select without Overlook. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 38-43.