การพัฒนาแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด ของผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา ผ่าน HU MARKETING HUB
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดของผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา ผ่าน HU Marketing HUB 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้แพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดของผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา ผ่าน HU Marketing HUB เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่ม ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน OTOP และ SMEs ในจังหวัดสงขลา โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 ราย และแบบแบบสอบถามความพึงพอใจของลูกค้าผู้ใช้แพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยวิธีการสุ่มตามความสะดวก จำนวน 400 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและสถิติทดสอบเอฟ ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดของผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา ผ่าน HU Marketing HUB ซึ่งเป็นศูนย์กลางการจัดจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา มีระบบการดำเนินการที่ดีจากการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา อาจารย์และนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีชื่อเว็บไซต์ คือ www.humarketinghub.com แบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วน คือ ระบบหน้าร้าน และระบบหลังร้าน ความพึงพอใจของผู้ใช้แพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 การเข้าถึงแพลตฟอร์ม HU Marketing HUB พร้อมใช้งานตลอดเวลา ระบบใช้งานได้สะดวก ค้นหาสินค้าที่ต้องการได้ง่าย มีระบบการแจ้งเตือนรายการสั่งซื้อสินค้าและชำระเงิน การบริการที่ได้รับจากการสั่งซื้อมีความชัดเจนถูกต้อง เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้แฟลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่า อายุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการสั่งซื้อสินค้า ที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้งานแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
Article Details
References
กนกวรรณ กาญจนธานี. (2561). การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.
จรุมาส ชัยถิรสกุล และณักษ์ กุลิสร์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 4(1), 18-34.
ชัชวาลย์ ศรีประทุม. (2554). การศึกษารูปแบบการซื้อขายทางอินเตอร์เน็ต. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2552). การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce). กรุงเทพมหานคร: เคทีพี คอมพ์แอนด์คอนซัลท์.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). ผลกระทบจากธุรกิจ e-commerce ต่อผู้ประกอบการท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 12 กันยายน 2565 จาก https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/research-and-publications/research/discussion-paper-and-policy-paper/ECommerce_paper.pdf
บุญณัฐ ฉัตรเสาวภัณฑ์. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียสำหรับรายการโทรทัศน์. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า, 4(2), 65-79.
ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior). กรุงเทพมหานคร: Diamond in Business World.
ผกามาศ โอภาสวงศ์อภิรดี และนพินดา ไม้แก้ว. (2566). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ของคนรุ่นใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารร่มยูงทอง, 1(3), 1-14.
ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2551). บันทึกความสำเร็จธุรกิจดอทคอม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.
รัญชิดา เกียรติกนก และเจษฎา วงศ์แสนสุขเจริญ. (2564). การยอมรับและการใช้เทคโนโลยีและคุณภาพเว็บไซต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce สำหรับธุรกิจแบบ B2B. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 91-105.
อรรถเดช สรสุชาติ. (2563). สถิติประยุกต์และระเบียบวิธีวิจัย. ขอนแก่น: กรีนเนสไวด์ จำกัด.
แอนนา พายุพัด และคณะ. (2559). การวิเคราะห์และออกแบบระบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ OTOP 3-5 ดาว. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 10(1), 90-102.
Fraenkel, R. J. & Wallen, E. N. (2006). How to design and evaluate research in education. (6th ed.). Boston: McGraw-Hill.
Jacops, L. C. (1991). Test Reliability, IU Bloomington Evaluation Services and Testing (Best). Indiana: Indiana University Blomington.
Turban, E. & King, D. (2008). Electronic commerce 2008 (A material perspective). New Jersey: Pearson Prentice Hill.