ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ด้านทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

Main Article Content

สยุมพร บุญเกิด

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณประโยชน์ของระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์
ในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณประโยชน์ของระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีอิทธิพลต่อคุณประโยชน์ของระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณประโยชน์ของระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร อาจารย์ นักวิชาการ และบุคลากร ที่ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง จำนวน 500 คน ใช้วิธีการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบทราบค่าความน่าจะเป็น โดยวิธีแบบหลายขั้นตอน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยเทคนิคโมเดลสมการโครงสร้าง เพื่อตรวจสอบความตรงตามโครงสร้าง และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อยืนยันทฤษฎีที่ค้นพบและตรวจสอบความตรงตามโครงสร้างของเครื่องมือ ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรสังเกตทั้งหมด 16 ตัวแปร มีความสัมพันธ์กัน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีขนาดค่าความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.222-0.703 แสดงว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณประโยชน์ของระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล คือ ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ คุณลักษณะองค์กร คุณลักษณะบุคคล มีอิทธิพลต่อคุณประโยชน์ของระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยส่งผ่านการปรับระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ทั้ง 7 ข้อ และตรงตามทฤษฎีที่อธิบายได้ว่าโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณประโยชน์ของระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีความสอดคล้องกลมกลืนกับโมเดลทางทฤษฎีที่กำหนดไว้ในระดับที่ยอมรับได้  

Article Details

How to Cite
บุญเกิด ส. (2024). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ด้านทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(6), 351–362. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/274621
บท
บทความวิจัย

References

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร และคณะ. (2564). คุณลักษณะของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาที่มีอิทธิพลต่อความทุ่มเทในการทำงานของบุคลากรทางการศึกษายุคไทยแลนด์. 4.0. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระราชชูปถัมป์, 15(1), 54-65.

ถวัลย์ พอกประโคน. (2557). สภาพการบริหารงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ภาศิริ เขตปิยรัตน์ และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 8(2), 99-113.

สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์. (2550). ปัจจัยที่จำแนกการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาคุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Bejjar, M. & Boujelbene, Y. (2013). The Impact of Information Systems on user Performance: An Exploratory Study. Journal of Knowledge Management, Economics and Information Technology, ScientificPapers.org, vol, 3(2), 1-10.

Hair, J. F. et al. (2014). AMOS covariance-based structural equation modeling (CB-SEM): Guidelines on its application as a marketing research tool. Brazilian Journal of Marketing, 13(2), 44-55.

Lisi, Y. I. (2012). Effect of different stem-cutting stage on yield and benefit of rape variety Qianyou 29. Journal article: Guizhou Agricultural Sciences, 1(8), 73-78.

Stacie, P. et al. (2013). Information systems success: The quest for the independent variables. Journal of Management Information Systems, 29(4), 7-62 .

Yaser, H. et al. (2014). The Role of Different Types of Information Systems In Business Organizations. International Journal of Research, 1(7), 1279-1286.

Yusi, H. E. & Wukui, W. (2024). BPM Software Adoption in Enterprises based on TOE Framework and IS Success Model. School of Economics & Management: Beijing Forestry University.