การออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายและมาสคอตบนผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่น ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท

Main Article Content

นรรชนภ ทาสุวรรณ
ชลิต กังวาราวุฒิ

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชน ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท 2) เพื่อออกแบบลวดลายและมาสคอตจากอัตลักษณ์ ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท 3) เพื่อประเมินผลงานการออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายและมาสคอตบนผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่น ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เป็นการศึกษาวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยเชิงปริมาณ ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนในชุมชนตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท จำนวน 100 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์สถิติด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยเลือกแบบเจาะจง และเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนชุมชน เกษตรกร และชาวบ้าน ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท สังเคราะห์แนวความคิดในการออกแบบจากสิ่งที่โดดเด่นของพื้นที่ ได้แก่ ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา ซึ่งชุมชนได้จดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI มาลดทอนรายละเอียดให้เหมาะสมสำหรับการออกแบบสร้างสรรค์ลวดลายและมาสคอตบนผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ ได้แก่ ข้อมูลอัตลักษณ์ คือ ที่มาของชื่อชุมชน สถานที่สำคัญ สิ่งที่โดดเด่น ประเพณีและวัฒนธรรม ผลการออกแบบลวดลาย และผลการออกแบบมาสคอต และผลการประเมินลวดลายและมาสคอต ผลการประเมินการออกแบบลวดลาย มีผลประเมิน รวมอยู่ในระดับ ดี (gif.latex?\bar{x} = 4.34, S.D. = 0.58) และผลการประเมินการออกแบบมาสคอต ในการวิจัยการออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายและมาสคอตบนผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่น ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท มีผลประเมิน รวมอยู่ในระดับ ดี (gif.latex?\bar{x} = 4.35, S.D. = 0.49)

Article Details

How to Cite
ทาสุวรรณ . น., & กังวาราวุฒิ ช. (2024). การออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายและมาสคอตบนผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่น ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(6), 240–254. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/274724
บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธ์ เฉลิมสิริโรจน์ และคณะ. (2560). การออกแบบลายกราฟิกเสื้อผ้าแฟชั่นจากลวดลายเครื่องสังคโลกจังหวัดสุโขทัย. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (หน้า 4(1), 517 - 529).

จินตนา พงษ์รามัญ. (2560). การสื่อสารอัตลักษณ์ไทยผ่านบรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปกรณีศึกษาผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผา ตราแม่ประนอม. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิสาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม. ทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลิต กังวาราวุฒิ และไพโรจน์ สมุทรักษ์. (2567). การสร้างสรรค์มาสคอตแบบชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 28(1), 43-60.

ธัญลักษณ์ ศุภพลธร. (2566). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรจากอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ม้งเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยหาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 11(1), 153–164.

ประชิด ชิณบุตร และนรรชนภ ทาสุวรรณ. (2561). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสมุนไพรสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2. วารสารจันทรเกษมสาร, 24(47), 126-141.

ปรียนันท์ ประยูรศักดิ์ และคณะ. (2566). การสื่อสารการตลาดของมาสคอตน้องเหน่อเพื่อส่งเสริมแบรนด์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(5), 391-404.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง หน้า 26 (1 พฤศจิกายน 2565).

ศริญญา คงเที่ยง และจิตรกร ผดุง. (2566). การวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยมาสคอตในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(2), 99-110.

สุกรี เจะปูเตะ. (2561). การออกแบบลวดลายซ้ำทางเรขศิลป์เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยมลายูสำหรับเจเนอเรชั่นวาย. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีนา อีสามะ และสายชลี ชัยศาสตร์. (2558). การพัฒนารูปแบบลวดลายศิลปะผ้าบาติก ในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2567 จากhttps://riss.rmutsv.ac.th/upload/doc/201907/hmfOR3rIZ1Jgdr2Lwhun/hmfOR3rIZ1Jgdr2Lwhun.pdf