การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน ในตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน
รภัส ศิลป์ศรีกุล
จริยา สุพรรณ
ภพพิศลย์ ภพอุดม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและกระบวนการผลิตน้ำพริกของชุมชนในตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และ 2) เพื่อค้นหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนในตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภคจำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสนทนากลุ่ม โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา โดยการวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบางพึ่งมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำบางขามซึ่งเป็นสายน้ำแห่งวิถีชีวิตของคนในชุมชนนับจากอดีตที่ผ่านมา ชุมชนมีอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังโดยเฉพาะปลาทับทิม ชาวบ้านบริโภคน้ำพริกเป็นหนึ่งในเมนูอาหารประจำบ้านโดยได้รับการถ่ายทอดสูตรการทำน้ำพริกโดยคนในครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมทำน้ำพริกโดยการผัด มุ่งเน้นที่รสชาติที่อร่อยกลมกล่อม วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และความสะอาด ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม พบว่า ชุมชนร่วมกันลงความเห็นในการพัฒนาน้ำพริก 2 ตำรับ และผู้บริโภคมีความพึงพอใจโดยรวมต่อผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาทับทิมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.07) และผลิตภัณฑ์ผงปลาปรุงรสโรยข้าวเสริมแคลเซียมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.30) ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์น้ำพริกทั้ง 2 ตำรับ พบว่า มีคุณค่าทางโภชนาการและตอบสนองต่อความต้องการผู้บริโภค 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่นิยมน้ำพริกแบบดั้งเดิม และกลุ่มต้องการความทันสมัยและใส่ใจสุขภาพ

Article Details

How to Cite
ประสงค์ทัน ส., ศิลป์ศรีกุล ร., สุพรรณ จ., & ภพอุดม ภ. (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน ในตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(7), 254–266. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/275371
บท
บทความวิจัย

References

กนกนาฏ พรหมนคร. (2566). การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำพริกแม่นางบางไทร ตำบลช้างใหญ่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 15(2), 117-134.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระ บรมราชูปถัมภ์.

จินต์จุฑา ไชยศรีษะ และอมรรัตน์ เจริญชัย. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาทูอบแห้งกึ่งสำเร็จรูป. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 30(107), 124-131.

ณัฐพร แย้มกลิ่น. (20 ม.ค. 2566). พัฒนาแนวคิดตำรับน้ำพริกต้นแบบที่สะท้อนเอกลักษณ์ของ ชุมชน. (สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน และรภัส ศิลป์ศรีกุล, ผู้สัมภาษณ์)

ณัฐวรา ดาววีระกุล. (2556). แผนธุรกิจน้ำพริกแกงแม่เสียน. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นันทนา วงษ์ไทย. (2559). การศึกษาชื่อน้ำพริกใน 4 ภาค: สะท้อนความเป็นอยู่และวัฒนธรรมไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 8(16), 88-100.

นันทิตา ฉลาด และแสงจิตต์ ไต่แสง. (2565). กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปสูตรโบราณในอำเภอ ท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 105-118.

นารีรัตน์ ศรีหล้า. (2567). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง ศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 9(1), 489-499.

บุญญาพร เชื่อมสมพงษ์ และคณะ. (2563). ผลิตภัณฑ์น้ำพริกสมุนไพรกุ้งก้ามกรามของดีจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวัฒนธรรมอาหารไทย, 2(2), 43-50.

ปิ่นมณี แจ้งสว่าง. (2567). แผนพัฒนาธุรกิจผลิตภัณฑ์น้ำพริกเพื่อสุขภาพ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสหวิทยาการและการจัดการภาคเอกชน, 2(1), 11-19.

ผกาวดี ภู่จันทร์ และคณะ. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกผัดสมุนไพร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(1), 131-138.

พยุงศักดิ์ มะโนชัย และคณะ. (2563). การพัฒนาน้ำพริกพื้นบ้านเพื่อเป็นอาหารสุขภาพ. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 4(2), 50-59.

พรพจน์ ศรีดัน. (2564). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการนวัตกรรมทางสังคมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพจน์ ศรีดัน และคณะ. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาบูดูภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนดารุ้ลอิบาดะห์ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 15(4), 337-351.

รลินดา คูเวน. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑน้ำพริกแคบหมูเพื่อสุขภาพ. ใน สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิตสาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ลานา วงศ์ไชยยา และคณะ. (2567). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกไข่ปูเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนบ้านหน้าทับหมู่ที่ 7 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Innovation for Sustainable Social Development, 4(1), 1-12.

สรชัย พิศาลบุตร. (2555). การทำวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564. เรียกใช้เมื่อ 16 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 - 2570. เรียกใช้เมื่อ 16 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580. เรียกใช้เมื่อ 16 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF

สิริน ฉกามานนท์ และคณะ. (2563). แนวทางการสืบสานคุณค่าและอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรม: น้ำพริกแห่งอุษาคเนย์. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 23(43), 34-45.

แสงแข สพันธุพงศ์. (2564). มุมมองเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคตะวันตกผ่าน “น้ำพริก”. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 3(1), 73-83.

อุบลรัตน์ แก้วมณี. (24 พ.ย. 2565). ตำรับน้ำพริก ทรัพยากร วัตถุดิบและเอกลักษณ์ของชุมชน. (สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน และรภัส ศิลป์ศรีกุล, ผู้สัมภาษณ์)

Chernatony, L. et al. (2000). Added Value: Its Nature, Roles and Sustainability. European Journal of Marketing, 34(1), 39-56.