รูปแบบการตลาดเชิงเนื้อหา สำหรับธุรกิจบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขยาดย่อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูล เป้าหมาย องค์ประกอบ กระบวนการการและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในการทำการตลาดเชิงเนื้อหา สำหรับธุรกิจบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2) พัฒนารูปแบบการตลาดเชิงสำหรับธุรกิจบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการตลาดเชิงเนื้อหา สำหรับธุรกิจบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา ผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มแรก คือ ผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ที่รับผิดชอบการทำการตลาด ธุรกิจภาคบริการ 15 คน กลุ่มที่สอง คือ ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย 20 คน ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง นำผลการวิจัยมาพัฒนารูปแบบการตลาดเชิงเนื้อหาสำหรับธุรกิจบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่างรูปแบบการตลาดเชิงเนื้อหานำไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน นำไปใช้กับธุรกิจนำร่องจำนวน 3 ธุรกิจ โดยเป็นธุรกิจที่พัก และธุรกิจสำนักงานกฎหมาย จากนั้นนำไปใช้กับธุรกิจอีก 3 ธุรกิจเพื่อประเมินประสิทธิผล ได้แก่ ธุรกิจสวนน้ำ ธุรกิจฟิตเนส และธุรกิจร้านอาหาร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการมีเป้าหมายการทำเนื้อหาเพื่อยอดขาย ปัญหาที่พบ คือ การขาดไอเดีย ขาดความเข้าใจในการทำการตลาดเชิงเนื้อหาและลูกค้าจดจำแบรนด์ไม่ได้เนื้อหาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อของลูกค้า ได้แก่ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว ประเภทของเนื้อหาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ ภาพบรรยากาศ บริการจริง การแนะนำบริการ การรีวิว และเน้นการขาย การประเมินการใช้รูปแบบการตลาดเชิงเนื้อหา สำหรับธุรกิจบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า ผู้ประกอบการทำงานได้ง่าย เป็นระบบขึ้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น 34.62% 14.64% และ 11.19% ตามลำดับ การมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น 19.06% 16.26% และ 21.95 % ตามลำดับ
Article Details
References
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และคณะ. (2563). แนวทางการพัฒนาการตลาดดิจิทัลสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้าจังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2), 115-127.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.
รัตน์มณี นิลละออ และคณะ. (2564). การตลาดเชิงเนื้อหาที่หยาบคายโดยอาศัยความพึงพอใจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคบนสังคมออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้, 3(1), 57-73.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2552). การวิจัยและพัฒนา (Research and Development). วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(2), 1-12.
ศิริลักษณ์ กิจโสภา และชวนชื่น อัคคะวณิชชา. (2567). บทบาทการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ และประสบการณ์ ตราสินค้าที่ส่งผลต่อความภักดีในตราสินค้าผ่านความผูกพันของลูกค้าและคุณค่าตราสินค้าของ ผลิตภัณฑ์บะหมี่/ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูป. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 30(1), 77-94.
สาวิตรี พรหมสิทธิ์. (2562). รูปแบบการทำการตลาดเชิงเนื้อหาของเฟซบุ๊กแฟนเพจวงใน. วารสารการสื่อสารมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 3(1), 22-44.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพมหานคร: วิชั่นพรีเพรส.
อนันตพร พุทธัสสะ. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดดิจิทัลเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 2(1), 12-21.
Kemp, S. (2023). Digital 2023 Global Overview Report. Retrieved August 6 , 2023, from https://wearesocial.com//wp-content/uploads/2023/03/Digital-2023-Global-Overview-Report.
Onwuegbuzie, A. & Leech, N. L. (2007). Sampling designs in qualitative research: Making the sampling process more public. The Qualitative Report, 12(2), 238-254.