การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณตามแนวพุทธศาสนา ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณตามแนวพุทธศาสนา ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณตามแนวพุทธศาสนาของผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณตามแนวพุทธศาสนา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ อาจารย์ และนักวิชาการ ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 8 รูป/คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 550 คน ได้คัดเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบสอบถาม และ 3) การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์เนื้อหาเชิงบรรยายและพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณตามแนวพุทธศาสนา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 19 องค์ประกอบย่อย และ 86 ตัวบ่งชี้ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณตามแนวพุทธศาสนาของผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในประเทศไทย สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดย Chi-Square = 80.31, P-value = 0.06968, df = 63, Relative Chi-Square = 1.274, Goodness-of-Fit Index = 0.984, Adjusted Goodness-of-Fit Index = 0.952, and Root Mean Square Error of Approximation = 0.023 และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณตามแนวพุทธศาสนา ผู้บริหารควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับเป้าหมายขององค์การและการบริหารจัดการ มีแผนงานและเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน ให้คำแนะนำและรับฟังความคิดเห็น พูดจริง ทำจริง ควบคุมอารมณ์ได้ และให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา
Article Details
References
กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และปารณัฐ สุขสุทธิ์. (2550). ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข: บทบาทและบริบทที่เปลี่ยนแปลงในสังคมไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 1(3-4), 268-279.
พระครูสุวิชาธรรมนาถ. (2561). การพัฒนาพระสงฆ์สู่ผู้นำแห่งจิตวิญญาณ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศรีสะเกษ, 12(1), 1-11.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540. (2540). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 51 ก หน้า 24 (1 ตุลาคม 2540).
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540. (2540). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 51 ก หน้า 4 (1 ตุลาคม 2540).
พสุ เดชะรินทร์. (2566). หน้าร้อน ความโกรธ ผู้นำ. เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2566 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/102411.
รุ่งนภา สารพิน. (2566). องค์กรต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.thaipost.net/columnist-people/411755/.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพือการบริหารทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์.
วิโรจน์ สารรัตนะ และคณะ. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 261-271.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 40). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2518). นวโกวาท หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี. (พิมพ์ครั้งที่ 68). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
Ashmos, D. P. & Duchon, D. (2000). Spirituality at work: A conceptualization and measure. Journal of Management Inquiry, 9(2), 134-145.
Aydin, B. & Ceylan, A. (2009). The effect of spiritual leadership on organizational learning capacity. African Journal of Business Management, 3(5), 184-190.
Comrey, A. L. & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.
Cronbach, L. J. (1984). Essential of Psychology Testing. (4th ed.). New York: Hamper and Row.
Fry, L. W. (2003). Toward a theory of spiritual leadership. The Leadership Quarterly, 14(6), 693-727.
Highett, N. T. (1989). School Effectiveness and Ineffective Parent’s Principal’ and Superintendents’ Perspectives. In Unpublished doctoral dissertation. University of Alberta.
Huse, E. F. (1978). The Modern Manager. Saint Paul, Minnesota: West Publishing.
James, S. (2015). Employers: How To Deal With Conflict In The Place. Retrieved July 20, 2022, from https://www.business2community.com/human-resources/employers-deal-conflict-workplace-01200803.
Katz, R. L. (1974). Skills of an Effective Administrator. Boston: Harvard Business Review.
Klenke, K. (2003). Gender influences in decision-making processes in top management teams. Management Decision, 41(10), 1024-1034.
McFarland, D. E. (1979). Management Foundations and Practices. (5th ed). New York: Macmillan.
Milliman, J. & Ferguson, J. (2008). Creating Effective Core Organizational Values: A Spiritual Leadership Approach. International Journal of Public Administration, 31(4), 439-459.
Sergiovanni, T. J. (2004). Collaborative Cultures and Communities of Practice. Principal Leadership, 5(1), 48-52.
Smith, B. S. (2007). The Role of Leadership Style in Creating a Great School. SELU Research Review Journal, 1(1), 65-78.
Twigg, N. W. & Parayitam, S. (2006). Spirit at work: spiritual typologies as theory builders. Journal of Organization Culture, Communication and Conflict, 10(2), 117-133.
Yukl, G. A. (1989). Leadership in Organization. (2nd ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.