การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวเวชศาสตร์ชะลอวัย ในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวเวชศาสตร์ชะลอวัยในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง และ 3) ทดลองและประเมินรูปแบบฯ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 285 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน คุณภาพเครื่องมือเท่ากับ 0.6 ถึง 0.8 สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1: วิเคราะห์สถานการณ์พฤติกรรมวิถีชีวิตด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และ การจัดการความเครียด โดยภาพรวมอยู่ในระดับ“ปานกลาง” ( = 2.09, SD = 0.64) ระดับความดันโลหิตซิสโตลิค และไดแอสโตลิคอยู่ในระดับ“เสี่ยง” ( = 130.12, SD = 8.53, และ = 82.96, SD = 2.62) เส้นรอบเอวอยู่ในระดับ “อ้วน” ( = 87.64, SD = 5.50) และดัชนีมวลกาย “อ้วน” ( = 26.31, SD = 2.81) ระยะที่ 2 : พัฒนารูปแบบ โดยภาคีเครือข่ายสุขภาพที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 12 คน ได้รูปแบบเป็นแผนกิจกรรมเรียนรู้ที่เน้นด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด และ ระยะที่ 3 : ทดลองใช้และประเมินรูปแบบกับกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 40 คน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ Repeated Measures ANCOVA ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมวิถีชีวิตด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายและการจัดการความเครียด ดีกว่าก่อนใช้รูปแบบ และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ รวมถึงค่าระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว ของกลุ่มทดลองลดลงดีกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
Article Details
References
เกสราวรรณ ประดับพจน์. (2564). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 self ต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 148-161.
ธัมม์ทิวัตถ์ นรารัตน์วันชัย. (2559). เวชศาสตร์ชะลอวัยจากพื้นฐาน สู่แนวปฏิบัติ. (เล่มที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).
นิศารัตน์ ศรีไซร์. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 32(1), 109-122.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ และพิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ. (2560). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการสาธารณสุข: กรณี ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. ชลบุรี: ภาควิชาพื้นฐานสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2563). การเปลี่ยนแปลง “พหุพฤติกรรมสุขภาพ” : ความท้าทายในการปูองกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในประเทศไทย. วารสารสุขศึกษาและสื่อสารสุขภาพ, 7(2), 1-16.
มาศ ไม้ประเสริฐ. (2559). เวชศาสตร์ชะลอวัย และฟื้นฟูสุขภาพคืออะไร. บทความวิจัยสาขาวิชาวิทยาการ ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(ฉบับพิเศษ), 257-279.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: ไทยทริค ธิงค.
สันต์ ใจยอดศิลป์ และพิจิกา วัชราภิชาต. (2566). คัมภีร์สุขภาพดี: สุขภาพดีได้ง่ายด้วยตัวเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ฟรีมายด์.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2564). เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกระทรวง สาธารณสุขกรณีปกติ รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2565. เรียกใช้เมื่อ 1 เมษายน 2565 จาก https://inspection.moph.go.th/e-inspection/file_provinec/2022-06-13-11-31-52.pdf
สำนักโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
Best, J. W. (1977). Research in education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Gabiola, J. (2020). The EffectiveNess of LIfestyle with Diet and Physical Activity Education Program Among Prehypertensives and Stage 1 HyperTensives in an Urban Community Setting (ENLIGHTEN) Study. Journal Community Health, 45(3), 478-487.
Samadian, F. (2016). Lifestyle Modifications to Prevent and Control Hypertension. Iran J Kidney Dis, 10(5), 237-263.
Tungsurat, P. & Ponghirun, W. (2013). Healthcare Behavior of the elderly in the municipality, Bang Mueang Subdistrict, Mueang District, Samut Prakan Province. Journal of disseminate academic knowledge and research, 20(1), 57-68.