การพัฒนาพื้นที่เชิงปฏิบัติการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ของชุมชนทุ่งครุ-บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาพื้นที่การเรียนรู้ของชุมชน 2) เพื่อออกแบบพื้นที่และกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ทางกายภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ได้แก่ 1) เจ้าของพื้นที่การเรียนรู้ 7 คน 2) ครู 5 คน 3) ผู้ปกครอง 13 คน และ 4) นักจัดกิจกรรม 3 คน รวมทั้งสิ้น 28 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสำรวจและประเมินพื้นที่การเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์ครู และ 3) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง กระบวนการวิจัยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสำรวจ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีชุมชน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ชุมชนควรพัฒนา 2 ด้าน ได้แก่ พื้นที่ทางกายภาพและกิจกรรมการเรียนรู้ โดยออกแบบให้มีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ชุมชน มีความสะดวก ปลอดภัย เข้าถึงทุกช่วงวัย และมีแนวทางการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการเรียนรู้ 2 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วม 2) ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในชุมชน 5 ด้าน ประกอบด้วย 2.1) ความปลอดภัย 2.2) จุดเชื่อมต่อการเดินทาง 2.3) สภาพแวดล้อมใน-นอกพื้นที่ 2.4) แนวทางในการปรับปรุงพื้นที่การเรียนรู้ทางกายภาพ และ 2.5) ทักษะการบริหารจัดการพื้นที่และกระบวนการเรียนรู้ ควรส่งเสริมการเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะ ในการเชื่อมต่อพื้นที่การเรียนรู้ในชุมชน พัฒนาศักยภาพพื้นที่เชิงธุรกิจและใช้หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับโรงเรียน สถานศึกษา รวมถึงการสร้างเครือข่ายพันธมิตรผู้ประกอบการในพื้นที่ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน ในการพัฒนานิเวศการเรียนรู้ทุกมิติอย่างยั่งยืน
Article Details
References
กล้า ทองขาว. (2561). การจัดการศึกษาฐานชุมชน (Community-based Education Management=CBEM). เรียกใช้เมื่อ 5 มิถุนายน 2567 จาก https://www.dpu.ac.th/ces/download.php?filename=1377584927.docx
ครองสิทธิ์ บุตรสุวรรณ์. (2561). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านท่าหนองพันทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 7(27), 158-170.
ครู ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3. (16 มี.ค. 2566). พื้นที่และกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน. (สุรัตน์ เพชรนิล, ผู้สัมภาษณ์)
เจ้าของพื้นที่การเรียนรู้ ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3. (25 พ.ย. 2565). พื้นที่และกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน. (สุรัตน์ เพชรนิล, ผู้สัมภาษณ์)
ชาริกา ชาญนันทพิพัฒน์. (2566). เปิดใจเปิดประตูเรียนรู้ใหม่ สู่พื้นที่การเรียนรู้ของคนยุคใหม่. เรียกใช้เมื่อ 12 พฤษภาคม 2567 จาก https://tdri.or.th/2023/03/learning-environment-of-the-new-generation/
ผู้ปกครอง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 10. (10 มี.ค. 2566). พื้นที่และกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน. (ลดาวัลย์ ศรีขาว, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ปกครอง ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 5. (10 มี.ค. 2566). พื้นที่และกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน. (สุรัตน์ เพชรนิล, ผู้สัมภาษณ์)
พระชานิ โกสลฺโล และคณะ. (2560). การเสริมสร้างลักษณะผู้ประกอบการในชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองนาคำ ตำบลหนองระเวียงอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 69-78.
พีรดร แก้วลาย. (2556). เมืองสร้างสรรค์: แนวทางการพัฒนาเมืองจากสินทรัพย์สร้างสรรค์ท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
วันใหม่ นิยม. (2566). ภูมิหลังคลองบางมด ย่านคลองชาวสวน ทางออกทะเล. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2567 จาก https://www.greenbluerestbangkok.com
วิไลวรรณ ประทุมวงศ์. (2564). มจธ.สำรวจเส้นทางคลองย่านฝั่งธนบุรี นำร่อง 4 เขต หวังเชื่อมต่อเส้นทางสัญจรคลองเพื่อการท่องเที่ยว. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.theglocal.world/2021/03/4.html
วิสันต์ พยุงวงษ์. (2560). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนกรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(2), 171-183.
วุฒิสาร ตันไชย. (2566). เพราะทุกพื้นที่ควรเป็นแหล่งเรียนรู้ - ถอดรหัสการสร้าง ‘เมืองแห่งการเรียนรู้’ เพื่อก้าวไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต. เรียกใช้เมื่อ 30 มิถุนายน 2567 จาก https://www.the101.world/learning-cities/
สนอง โลหิตวิเศษ. (2559). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ . ใน สารานุกรมศึกษาศาสตร์, (เล่มที่ 51, หน้า 31-40). กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (12) ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ (พ.ศ. 2561– 2580). เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567 จาก http://nscr.nesdc.go.th
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2560). คิดทันโลกด้วย Design Thinking โดย ASIAN Leadership Academy. เรียกใช้เมื่อ 31 สิงหาคม 2567 จาก https://www.okmd.or.th/knowledge-festival/articles/518/design-thinking
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย. (2563). ศูนย์เรียนรู้ชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2567 จาก https://chiangrai.cdd.go.th/services/learningcenter
สุทธิพงษ์ สาชะรุง. (2553). การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามแหล่งการเรียนรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนดานใหญ่ ตำบลผาสุก อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรดา แก้วศรีหา. (2565). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนบนฐานของทุนวัฒนธรรมเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารมณีเชษฐารามวัดจอมมณี, 5(2), 237-251.
สุรวิทย์ อัสสพันธุ์. (2566). นิเวศการเรียนรู้: พื้นที่และกระบวนการที่การเรียนรู้ดำรงอยู่. วารสารวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์, 2(1), 167-168.
อาริยา ป้องศิริ. (2565). การอนุรักษ์ สืบสานต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น “ธุง กาฬสินธุ์" บ้านนาโก ตำบลนาโก อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มทร.ล้านนา, 6(1), 41-53.