พุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่ส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการวางแผนการเงินส่วนบุคคล 2) วิเคราะห์การสื่อสารพุทธธรรมที่ส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคล 3) นำเสนอพุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่ส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) การวางแผนการเงินส่วนบุคคลว่าด้วยความรู้พื้นฐานทางการเงิน 4 ด้าน คือ การหารายได้ การเก็บออม การใช้จ่าย การลงทุน มีขั้นตอนและวิธีการในการวางแผน 5 ขั้นตอน คือ 1.1) ประเมินสถานะทางการเงิน 1.2) กำหนดเป้าหมายทางการเงิน 1.3) กำหนดทางเลือกและประเมินทางเลือก 1.4) สร้างและปฏิบัติตามแผนการเงิน 1.5) ติดตามประเมินปรับปรุงแผนการเงิน มีคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการเป็นพื้นฐาน คือ 1.5.1) ความรับผิดชอบทางการเงิน 1.5.2) ความรู้ทางการเงิน 1.5.3) วินัยทางการเงิน 2) การสื่อสารพุทธธรรมที่ส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อสอน เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลและภายในองค์กร สื่อสารทางเดียวและสองทาง โดยวิธีบรรยายโวหารตามแนวบุคลาธิษฐาน มีพระพุทธเจ้าเป็นผู้ส่งสาร เนื้อหาสารคือพุทธธรรมว่าด้วยการตั้งเป้าหมายทางการเงิน การหารายได้ การจัดสรรทรัพย์ที่หามาได้ การใช้จ่าย การลงทุน และการส่งเสริมวินัยทางการเงิน โดยการพูดด้วยสื่อภาษาและสื่อธรรมชาติ ไปยังผู้รับสารหลายกลุ่มมีทั้งพระสงฆ์ พราหมณ์ เศรษฐี เด็กหนุ่ม 3) พุทธนวัตกรรมการสื่อสารที่ส่งเสริมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล คือ SROMC Model ผู้สื่อสารนำพุทธนวัตกรรมการวางแผนการเงินส่วนบุคคลไปสื่อสารให้ผู้รับสารรับรู้ เข้าใจตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ด้วยการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์สองทางผ่านสื่อดิจิทัลสมัยใหม่ ด้วยจิตที่มุ่งประโยชน์สูงสุดของผู้รับสารเป็นที่ตั้ง
Article Details
References
กิจติพร สิทธิพันธุ์. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จันทร์ทิพย์ ชูศักดิ์พาณิชย์. (2560). พุทธวิธีการสื่อมรรคมีองค์ 8 สำหรับเจนเนอเรชั่นวาย. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุญญารัตน์ สร้อยสน และธนิดา จิตร์น้อมรัตน์. (2564). ศึกษาทักษะทางการเงินที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัว ของครูที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและอื่น ๆ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พระครูสิริปริยัติธำรง (พิสิฐ ชุตินฺธโร). (2554). ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบโภควิภาค 4 กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมวชิรญาณ (ปสฤทธิ์ เขมงฺกโร สุทธิพันธุ์). (2561). เพชรพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เจริญการพิมพ์.
พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ วันจันทร์). (2556). พุทธปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2560). สู่เสรีภาพทางจิต คู่มือการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาอย่างง่าย. เชียงใหม่: บริษัท สันติภาพแพ็คพริ้นท์ จำกัด.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
สมิทธิพล เนตรนิมิต. (2558). สรรพวิทยานานาแขนงในพระไตรปิฎก. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต ประจำปี 2558. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิทธิชัย ลีวิวัฒน์วงศ์ และคณะ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของโครงโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดพะเยา เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(2), 103-111.
SAIFEDEAN AMMOUS (เซเฟดีน อัมมูส). (2565). THE BITCOIN STANDARD ระบบการเงินทางเลือกใหม่ไร้ศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท กรีน ไลฟ์ พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.