ความพึงพอใจและความคาดหวังขององค์กรสมาชิกเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ ที่มีต่อการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค

Main Article Content

อริสรา บุญรัตน์
สายสุดา สุขแสง
ยุวัลดา ชูรักษ์
รุ่งทิพย์ ปราโมทย์พันธุ์
กฤษฎา มงคลศรี
ชิตพล เอกสายธาร

บทคัดย่อ

การวิจัย “ความพึงพอใจและความคาดหวังขององค์กรสมาชิกเครือข่ายภาคใต้ ที่มีต่อการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค” วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคาดหวังและความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานสภาองค์กรของผู้บริโภคตามแผนงาน และสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของสภาองค์กรของผู้บริโภค ข้อเสนอแนะต่อบทบาทการดำเนินงาน ของสภาองค์กรของผู้บริโภค ประจำปีงบประมาณ 2566 เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกสภาองค์กรของผู้บริโภคเครือข่ายภาคใต้ จำนวน 30 คน ผลวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจและคาดหวังจากองค์กรสมาชิกเครือข่ายภาคใต้ ต่อแผนงานที่ 1: แผนสนับสนุนและการดำเนินคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ 3.94 และความคาดหวังอยู่ในระดับมาก คือ 4.45 แผนงานที่ 2: แผนพัฒนานโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ 3.80 และความคาดหวังอยู่ในระดับมาก คือ 4.33 แผนงานที่ 3: แผนสนับสนุนหน่วยงานประจำจังหวัด พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ 3.95 และความคาดหวังอยู่ในระดับมาก คือ 4.33 และ แผนงานที่ 4: แผนสื่อสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ 4.03 และความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 4.51 2) สำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของสภาองค์กรของผู้บริโภค เท่ากับ 3.56 และ 3) ข้อเสนอแนะควรมีเวทีเปิดโอกาสให้ประชาชนและสมาชิกได้แสดงความคิดเห็นมีส่วนร่วมรับรู้ในเรื่องใหม่ ๆ เพื่อการทำงานเชิงรุกในพื้นที่ และให้ประชาชนได้รู้สิทธิและผลประโยชน์ของตนเอง เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางความรู้และปัญญาให้กับศูนย์ระดับภูมิภาคและจังหวัด

Article Details

How to Cite
บุญรัตน์ อ., สุขแสง ส., ชูรักษ์ ย., ปราโมทย์พันธุ์ ร., มงคลศรี ก., & เอกสายธาร ช. (2024). ความพึงพอใจและความคาดหวังขององค์กรสมาชิกเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ ที่มีต่อการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(9), 267–279. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/276858
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ Quantitative Analysis. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิราวรรณ ยิ้มปลื้ม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์การสำนักงานคณะกรรมการป้องกันประเทศและการปราบปรามแห่งชาติการทุจริต (ป.ป.ช.). ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2560). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามประจำปีการศึกษา 2559. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรรรณา ศรีวิริยานุภาพ และคณะ. (2566). การพัฒนาเกณฑ์ขั้นพื้นฐานประเมินคุณภาพขององค์กรผู้บริโภคและการรับรององค์กร เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. วารสารเภสัชกรรมไทย, 15(1), 227-237.

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

สภาองค์กรของผู้บริโภค. (2567). แผนกลยุทธ์ของสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 - 2571). เรียกใช้เมื่อ 15 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.tcc.or.th/3d-flip-book/แผนกลยุทธ์ของสำนักงานส/

สัญญา เคณาภูมิ และคณะ. (2562). การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. ใน รายงานการวิจัย . มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Antonides, G. & Van R, W. F. (1998). Consumer Behavior: An European Perspective. Chicheter: John Wiley and Sons.

Best, J. W. (1986). Research in education. (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Johnson, B. & Christensen, L. (2004). Educational Research: Quantitative, Qualitative and Mixed Approach. (2nd ed.). Boston: Pearson Education.

Kotler, P. (2003). Marketing management. (11th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

McKinsey, Q. (2008). Enduring Ideas: The 7-S Framework. Retrieved May 15, 2024, from https://www.mckinsey.com/capabilities/strategy-and-corporate-finance/our-insights/enduring-ideas-the-7-s-framework.