นวัตกรรมการจัดการสำหรับผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลาง และขนาดย่อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอุตสาหกรรม 5.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานรัฐในการเตรียมความพร้อมสู่อุตสาหกรรม 5.0 และการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างองค์กรนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม ยังขาดนวัตกรรมการจัดการที่ช่วยให้การส่งเสริมสอดคล้องกับบริบทและข้อจำกัดของแต่ละผู้ประกอบการ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือดัชนีชี้วัดระดับความสำคัญของงานที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ 2) เพื่อเสนอกลยุทธ์เตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอุตสาหกรรม 5.0 และ 3) เพื่อสร้างวัฏจักรการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอุตสาหกรรม 5.0 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล 20 ราย เพื่อพัฒนาเครื่องมือโดยประยุกต์เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD) และทวนสอบกับผู้ประกอบการ SMEs 5 ราย ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องมือดัชนีชี้วัดสามารถระบุระดับความสำคัญของงานที่ได้รับการส่งเสริม ซึ่งพบว่า งานนวัตกรรมทำกำไร วิเคราะห์ตลาด และงานนวัตกรรมเครือข่าย มีค่าระดับความสำคัญสูงสุด 2) กลยุทธ์ที่เสนอ ประกอบด้วยกลยุทธ์ 4 ด้านตาม TOWS Matrix ได้แก่ กลยุทธ์เชิงรุก (SO) เน้นการปรับสู่เกษตรอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูง การรักษาและขยายฐานการผลิตรถกระบะ กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO) เน้นการใช้วิศวกรรมย้อนกลับและการสร้างแนวคิด Critical Thinking กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST) มุ่งสร้างบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ และกลยุทธ์เชิงรับ (WT) เน้นการส่งเสริมการรีไซเคิลและถ่ายทอดเทคโนโลยี 3) วัฏจักรการพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่นำเสนอเป็นใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางธุรกิจและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนSMEs ไทยสู่อุตสาหกรรม 5.0
Article Details
References
ชูศักดิ์ พรสิงห์ และคณะ. (2565). การวัดความพร้อมของอุตสาหกรรม 4.0 ในประเทศไทยโดยใช้เครื่องมือชุดดัชนีชี้วัดความพร้อมของอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภัทรเวช ธาราเวชรักษ์ และคณะ. (2560). การวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันของผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ไทยภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(1), 73-82.
วิยะดา ทองเสือ. (2566). ส่องทิศทางอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2567 จาก https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_1918Research_Note_Auto_Part_20_03_66.pdf
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2563). Industry 5.0 เตรียมพร้อมสู่ยุค Cobots ก้าวใหม่ที่สำคัญแห่งโลกอนาคต. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2567 จาก https://piu.ftpi.or.th/wp-content/uploads/2020/07/Industry-5.0-.pdf
สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมประจำญี่ปุ่น. (2561). รายงาน Society 5.0. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2567 จาก https://plan.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/97/2018/10/รายงานเรื่องนโยบาย-Socaity-5.0full.pdf
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2563). การจัดการสู่องค์กรนวัตกรรม. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2567 จาก https://ifi.nia.or.th/wp-content/uploads/2020/09/Innovative-Organization-BOK_digital_08-2020.pdf
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2565). เครื่องมือชุดดัชนีชี้วัดอุตสาหกรรม 4.0. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2567 จาก https://www.thindex.or.th/Content/assets/fileTemplate/ThailandIndex_Manual_20220609.pdf
Burata, J. et.al. (2023). Industry 5.0 Past Present and Nearly Future. Procedia Computer Science Journal, 219(1), 778-788.
Jensen, F. (2017). Quality Function Deployment, The Evolved 4-Phases Model, Publisher Lulu.com. Bangkok: First Edition.
Leng, J. et al. (2022). Industry 5.0, Prospect and Retrospect. Journal of Manufacturing Systems, 65(1), 279-295.
Muller, J. (2020). Enabling Technologies for Industry 5.0, Results of a workshop with Europe’s technology leaders. European: European Commission Workshop Handbook.