การพัฒนาหลักสามัคคีธรรมในการสร้างเครือข่ายการจัดสวัสดิการชุมชน จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

วีรนุช พรมจักร์
ณัฐภัทร อยู่เมือง
รินดา ประกอบบุญ
พระครูสุนทรธรรมนิเทศ (จารุวัฒน์ จันทะพรม)
สุขพัฒน์ อนนท์จารย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาการจัดสวัสดิการแรงงานหญิงนอกระบบในชุมชน นำหลักสามัคคีธรรมมาใช้ในการสร้างเครือข่ายการจัดสวัสดิการแรงงานหญิงนอกระบบในชุมชน เผยแผ่และสร้างการรับรู้ต่อสาธารณะในการนำหลักสามัคคีธรรมมาใช้ในการสร้างเครือข่ายการจัดสวัสดิการจัดสวัสดิการแรงงานหญิงนอกระบบในชุมชนจังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 372 คน การวิจัยเชิงคุรภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการจัดสวัสดิการแรงงานหญิงนอกระบบในชุมชน ต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้าน เช่น การไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิการในด้านความปลอดภัย และด้านสุขภาพ ไม่สามารถใช้สิทธิจากประกันสังคม เนื่องจากกฎหมายแรงงานไม่คุ้มครอง ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่มีการรวมกลุ่มกันเป็นสหภาพแรงงาน และขาดการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านทักษะแรงงาน การนำหลักสามัคคีธรรมเข้ามาใช้ในการสร้างเครือข่ายการจัดสวัสดิการแรงงานหญิงนอกระบบในชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาของแรงงานนอกระบบ และรวมกลุ่มให้ได้เพื่อรับการต่อรอง ส่วนการเผยแผ่และสร้างการรับรู้ต่อสาธารณะในการนำหลักสามัคคีธรรมมาใช้ในการสร้างเครือข่ายการจัดสวัสดิการจัดสวัสดิการแรงงานหญิงนอกระบบในชุมชนจังหวัดสระแก้ว มีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือ ได้แก่ กระทรวงแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มูลนิธิเพื่อนหญิง ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ มูลนิธิเพื่อการพัฒนา แรงงานและอาชีพ เข้ามาดูแลแรงงานนอกระบบ

Article Details

How to Cite
พรมจักร์ ว., อยู่เมือง ณ., ประกอบบุญ ร., (จารุวัฒน์ จันทะพรม) พ., & อนนท์จารย์ ส. (2024). การพัฒนาหลักสามัคคีธรรมในการสร้างเครือข่ายการจัดสวัสดิการชุมชน จังหวัดสระแก้ว. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(12), 96–108. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/278206
บท
บทความวิจัย

References

ณัทธร ศุภสารัมภ์. (2559). แรงงานนอกระบบ: ปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

นฤมล นิราทร และคณะ. (2558). การกำหนดค่าตอบแทนของผู้รับงานไปทำที่บ้านในประเทศไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นิศา ชัชกุล. (2550). ทฤษฎีฐานราก: แนวทางการศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประเวศ วะสี. (2552). ความสามัคคีและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการพัฒนาชุมชน.

พรทิพย์ เนติภารัตนกุล. (2557). ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). หลักสามัคคีและความปรองดอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พุทธสาสน์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ และคณะ. (2552). สวัสดิการมาตรฐานที่แรงงานนอกระบบพึงได้รับ: นโยบายและแนวทางการส่งเสริมสวัสดิการให้แรงงานนอกระบบ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องสวัสดิการมาตรฐานของแรงงานนอกระบบ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสระแก้ว. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2561 - 2564. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2567 จาก https://sakaeo.cdd.go.th/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2552). โครงการสํารวจแรงงานนอกระบบปี 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). รายงานผลการสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). รายงานผลสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2566. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.