การพัฒนานวัตกรรมพืชสมุนไพรไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจ ชุมชนฐานรากในอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนานวัตกรรมพืชสมุนไพรไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจชุมชนฐานรากในอำเภอคลองหอยโข่งจังหวัดสงขลา ในเชิงคุณภาพร่วมกับเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรไทยในการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนฐานราก 2) การพัฒนาพืชสมุนไพรไทยในการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ในอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 3) สร้างมูลค่าเพิ่มพืชสมุนไพรไทยให้เศรษฐกิจชุมชนฐานรากในอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการกำหนดแบบเจาะจง จำนวน 25 ราย ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ปฏิบัติการวิจัย เป็นแบบบันทึกการสังเกตการณ์เข้าอบรม จำนวน 30 ราย และผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 8 ราย พบว่า 1) การนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ของชุมชนแต่ละชนิดต่างกันออกไป ตามลักษณะอาการของโรคทำให้เกิดตำรับยารักษาโรคชนิดเดียวกันหลายตำรับยา องค์ประกอบของสมุนไพรที่นำมาใช้ประโยชน์มี 4 ด้าน คือ เก็บเกี่ยวตามฤดูกาล ตามทิศ เตามวันเวลาและเก็บเกี่ยวตามยาม ซึ่งคุณค่าของสมุนไพรและตำรับยาแต่ละชนิดเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของชุมชน 2) นวัตตกรรม
ที่ปรับเปลี่ยนนำมาใช้ในกระบวนต่าง ๆ การแปรรูปสมุนไพรดิบเป็นแบบแห้ง การใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน
ใช้ตู้อบพลังงงานแสงอาทิตย์ สมุนไพรที่ได้มีคุณค่าและมีมาตรฐาน บรรจุภัณฑ์กะทัดรัดสวยงาม วิธีการใช้และสรรพคุณใช้สองภาษา 3) การสร้างมูลค่าเพิ่มพืชสมุนไพรไทยให้กับเศรษฐกิจชุมชนฐานราก โดยการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งคุณค่าของผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต คุณค่าน่าเชื่อถือ การตลาดครบวงจร ด้านคุณค่าทางสังคม
โดยการฟื้นฟูภูมิปัญญาของชุมชนให้ยั่งยืน และด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติให้อยู่คู่กับสังคมตลอดไป
Article Details
References
กรมพัฒนาชุมชน. (2566). การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำของชุมชนอย่างยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 4 มีนาคม 2567 จาก https://www.thailandplus.tv/archives/704490
กระทรวงพาณิชย์. (2564). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์ (ฉบับทบทวน). เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2567 จาก https://www.ops.moc.go.th/th/file/get/file/202107191a18da63cbbfb49cb9616e6bfd35f662154519.pdf
คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา. (2566). แนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรม. เรียกใช้เมื่อ 30 มีนาคม 2567 จาก https://www.senate.go.th/assets/portals/185/fileups/485/files/รายงานคณะกรรมาธิการ/75.แนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรไทยด้วยการวิจัยและนวัตกรรม.pdf
ฉัตรชัย รุ่งจิรารัตน์ และคณะ. (2566). การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเหยียบฉ่า วัดเกาะหงษ์อําเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์บนฐานการมีส่วนร่วม. วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์, 1(1), 3-4.
ณธร มหาธรรมนุชโชค. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กันแดดทานาคาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของสมุนไพรบางแสนเฮิร์บ ตำบลท่ายาง อำเภอเพชรบุรี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(1), 60-68.
ณัฐนนท์ จิรกิจนิมิต และคณะ. (2566). สัมมาชีพ: องค์ความรู้พืชสมุนไพรพื้นถิ่นและการจัดการเชิงเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่ดอยลังกา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(4), 1549-1561.
ไทยรัฐ. (2567). ยาไทยฟ้าทะลายโจร ภูมิปัญญาสู้ยานอก. เรียกใช้เมื่อ 2 สิงหาคม 2567 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/2804216
น้ำทิพย์ ไต่เต้า และอดิลล่า พงศ์ยี่หล้า. (2565). ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจสมุนไพรไทยภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(6), 2411-2422.
ปิยะนุช เหลืองาม และอิศรารัตน์ มาขันพันธ์. (2566). การอนุรักษ์ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรท้องถิ่นบ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 7(3), 73-87.
เพ็ญศรี ฉิรินัง และคณะ. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่ความเป็นโอท็อปพรีเมี่ยมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรจังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 17(1), 96-107.
ภุชงค์ เสนานุช และคณะ. (2566). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.sdgmove.com/2023/01/24/opinions-on-sustainable-grassroot-economic-development-policy/
สนั่น ธัญรัตน์ศรีสกุล และสืบพงศ์ สุขสม. (2567). การบริหารจัดการธุรกิจสมุนไพรไทยด้วยระบบเศรษฐกิจชีวภาพในพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(5), 112-124.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา. (2566). โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ (สมุนไพร) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. เรียกใช้เมื่อ 21 กันยายน 2567 จาก https://www.opsmoac.go.th/songkhla-performance-files-451691791835
สุชีลา ตาลอําไพ และคณะ. (2567). การเพิ่มศักยภาพพัฒนานวัตกรรมและฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดกิจกรรมทางการตลาดของชุมชนโดยการสร้างงาน สร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นชุมชนตำบลศรีวิลัย อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 8(2), 395-409.
อัสฉรา นามไธสง และคณะ. (2566). การเพิ่มการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรท้องถิ่นเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาบ้านหนองบัว ตำบลบึงทวาย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 18(65), 83-94.
อัสฉรา นามไธสง และคณะ. (2567). การพัฒนารูปแบบการจัดการแปลงสมุนไพรและการสร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรสู่การลดความเหลื่อมล้ำมิติเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรพื้นที่ตำบลบึงทวาย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วารสารจันทรเกษมสารมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 30(1), R96-R111.