การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้การเรียนรู้ แบบสร้างสรรค์และชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาอนุปริญญา

Main Article Content

กิตติยา ฤทธิภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์และชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาอนุปริญญา และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์และชุมชนเป็นฐาน เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ ขั้นตอนการดำเนินการ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางในการพัฒนา (Analysis R1) ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Design and Development: D1) ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบเรียนรู้ (Implementation: R2) และ ระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Evaluation: D2) เครื่องมือในการวิจัยเป็น แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้ แบบวัดทัศนคติ และแบบวัดการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ประชากรที่ใช้ คือ นักศึกษาวิทยาลัยชุมชนสตูล ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 306 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับอนุปริญญา วิทยาลัยชุมชนสตูล ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 34 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ด้วย 7Cs MODEL การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ และ 2) การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์และชุมชนเป็นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.82/84.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นักศึกษามีความรู้ ทัศนคติ และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการประเมินรูปแบบด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ฤทธิภักดี ก. (2024). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้การเรียนรู้ แบบสร้างสรรค์และชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาอนุปริญญา. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(12), 83–95. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/278969
บท
บทความวิจัย

References

ฐากร สิทธิโชค. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). การบริหารงานด้านสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: บทสำรวจวรรณกรรม. วารสารสหศาสตร์, 21(2), 254-266.

พงศธร สิ่งสำราญ. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ชุมชน (CBLplus) เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู, 2(2), 265-280.

ภูษณิศา มีนาเขตร และสิริทรัพย์ สีหะวงษ์. (2562). ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการใช้ Course ville ในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพต่อการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 25(1), 74-87.

มนัส จันทร์พวง. (2567). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยวิชาการ, 7(6), 81-95.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคโนโลยีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ลิขิต จันทร์แก้ว. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาในป่าชุมชนโคกหินลาด (ป่าต้นน้ำห้วยคะคาง) โดยใช้พื้นที่เป็นฐานการเรียนรู้. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วนาลี วรรณสิน และคณะ. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านเทคโนโลยี คลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อเสริมสร้างทักษะวิถีแห่งการคิดเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 1-20.

ศศิธร นาม่วงอ่อน. (2567). การพัฒนารูปแบบการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2560). กระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานในกระบวนวิชา CEE2205 (ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็ก). วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(2), 1-8.

สุภารัตน์ อ่อนก้อน. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาแบบบูรณาการ โดยใช้ชุมชนเป็นฐานและการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรศักดิ์ แก้วงาม. (2565). การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้สำหรับนิสิตปริญญาตรี. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Dechakhupt, P. (2011). Teaching that focuses on learners is important. Bangkok: The master group management company limited.

Gonzalez, A. (2016). Community-Based Learning: A Model for Engaging Students in Social Justice. Journal of Social Work Education, 52(2), 247-260.

Kisiel, J. (2005). The Role of Community-Based Learning in Environmental Education. Environmental Education Research, 11(3), 333-347.

Kolb, D. A. (2005). Learning styles and learning spaces: Enhancing experiential learning in higher education. Academy of Management Learning & Education, 4(2), 193-212.

Riangnarong, M. & Silanoi, L. (2015). The development of grade 7 students’ 21stcentury learning and achievement through creativity-based learning (CBL) in the S 21103 Social Studies Subject. Journal of Education, 38(4), 141-148.