กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวัฒนธรรมศึกษาเพื่อส่งเสริมความตระหนักใน ความแตกต่างหลากหลายทางศาสนาของนักเรียนมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวัฒนธรรมศึกษาเพื่อส่งเสริมความตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางศาสนาของนักเรียนมัธยมศึกษามีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางศาสนาก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวัฒนธรรมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการของความตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางศาสนาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง รวม 24 คน ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวัฒนธรรมศึกษา และ 2) แบบวัดเชิงสถานการณ์เพื่อวัดความตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางศาสนา ซึ่งสถิติที่ใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และสถิติเชิงอนุมาน คือ Dependent Sample t-test และใช้การวิเคราะห์แก่นสาระในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวัฒนธรรมศึกษามีคะแนนความตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางศาสนาหลังเรียน (M = 13.42, S.D. = 0.881) สูงกว่าก่อนเรียน (M = 4.5, S.D.=2.554) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 15.2; p < .001) 2) นักเรียนทุกคนมีพัฒนาการของคะแนนความตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางศาสนา โดยที่พัฒนาการของนักเรียนจากบันทึกเชิงสะท้อนคิดสามารถจำแนกได้ 3 แก่นสาระ ได้แก่ 1) นานาสาระศาสนปฏิบัติ 2) อัตวิสัยในมิติศาสนา และ 3) ปรับตัวเป็น เห็นคุณค่าศาสนาในพหุสังคม
Article Details
References
กรมศาสนา. (2560). ศาสนาในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2567 จาก https://www.dra.go.th/files/knowledge/5bda6ca834d63.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. (2566). “อคติทางศาสนา” เมื่อศาสนาเข้าร่วมในความขัดแย้ง มนุษย์จะไม่ปรานีและออมมือ. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2567 จาก https://prachatai.com/journal/2023/02/102578
จิรัชญา ชัยชุมขุน. (2563). ทำไมวิชาศาสนาถึงเน้นแค่พระพุทธ์มีความเชื่อหลากหลาย ว่าด้วยการสอนศาสนาในโลกที่ผู้คน. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2567 จาก https://thematter.co/social/learning-religion-in-school/125648
ธานี ชัยวัฒน์. (2561). การแกล้งกันของเด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2567 จาก https://drive.google.com/file/d/1gb_skMEj3INX_gTtW0c-rm7IeY6JmYXP/view
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2557). การคำนวณคะแนนพัฒนาการ (GainScores). วารสารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 1(1), 1-20.
สมถวิล วิจิตรวรรณา. (2565). แบบวัดเชิงสถานการณ์: ประยุกต์ใช้วัดคุณลักษณะนิสัย. วารสารการวัดประเมิน ผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 3(1), 11-19.
อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์. (2534). จิตวิทยาพัฒนาการ. เรียกใช้เมื่อ 10 กันยายน 2567 จาก http://old-book.ru.ac.th/e-book/inside/html/dlbook.asp?code=PC290(54)
เอกนฤน บางท่าไม้. (2558). การบูรณาการรูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยสำหรับการเรียน การสอนในปัจจุบัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(1), 30-38.
Aksikas, J. et al. (2019). Cultural Studies in Classroom and Beyond Critical Pedagogies and Classroom Strategies. Retrieved August 10, 2024, from https://www.researchgate.net/publication/337559590_Cultural_Studies_in_the_Classroom_and_Beyond_Critical_Pedagogies_and_Classroom_Strategies_Critical_Pedagogies_and_Classroom_Strategies
Ball-Rokeach, S. J. (1973). Values and violence: A test of the subculture of violence thesis. American Sociological Review, 38(6), 736-749.
Braun, V. & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative research in psychology, 3(2), 77-101.
Carey-Webb, A. (2001). Literature and Lives: A Response-Based, Cultural Studies Approach to teaching English. Urbana, IL: National Council of Teachers of English.
Clark, D. R. (2015). Bloom's Taxonomy: The Affective Domain. Retrieved August 10, 2024, from http://www.nwlink.com/~donclark/hrd/Bloom/affective_domain.html
Drexel University School of Education. (2023). The importance of diversity & multicultural awareness in education. Retrieved August 10, 2024, from https://drexel.edu/soe/resources/student-teaching/advice/importance-of-cultural-
Gravino, P. et al. (2017). Experimental assessment of the emergence of awareness and itsinfluence on behavioral changes. Bern: Springer.
Halafoff, A. et al. (2019). Want a safer world for your children? Teach them about diverse religions and worldviews. Retrieved August 10, 2024, from https://theconversation.com/want-a-safer-world-for-your-children-teach-them-about-diverse-religions-and-worldviews-113025?fbclidIwAR3YZSX42R2own5sQqmG9bneh1JnsUuJW5Kkq3oZ_WgXFFVytLcFBLOXpfQ
Hartel, C. E., et al. (2013). IDADA: The individual difference approach to assessing and developing diversity awareness. Journal of Management & Organization, 19(1), 60-74.
Harvard Divinity School. (2023). Cultural Studies. Retrieved August 10, 2024, from https://rpl.hds.harvard.edu/what-we-do/our-approach/cultural-studies
Krathwohl, D. R. et al. (1964). Taxonomy of educational objectives: the classification of educationalgoals handbook IIaffective domain. New York: McKay.
Leriche, L. W. (1987). The Expanding Environments Sequence in Elementary Social Studies: The Origins Theory & Research in Social Education. Retrieved October 11, 2024, from https://doi.org/10.1080/00933104.1987.10505542
Moore, D. L. (2007). Overcoming religious illiteracy: A cultural studies approach to the study of religion in secondary education. New York: Palgrave Macmillan.
Mosley-Howard, G. S. et al. (2011). Development and validation of the Miami University Diversity Awareness Scale (MUDAS). Journal of Diversity in Higher Education, 4(2), 65-78.
Sangwanglao, J. (2024). Competency-Based Education Reform of Thailand's Basic Education System: A Policy Review. ECNU Review of Education, 11(1), 1-13.
Stinson, K. M. (2007). Diversity Awareness Profile (DAP): Facilitator's Guide. San Francisco: John Wiley & Sons.
World Population Review. (2023). Religion by Country 2024. Retrieved August 10, 2024, from https://worldpopulationreview.com/country-rankings/religion-by-country