รูปแบบการปฏิบัติงานนมแม่ และอนามัยแม่และเด็ก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปฏิบัติงานนมแม่ และอนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) การวิจัยเชิงผสมผสานแบบขั้นตอนเชิงสำรวจครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษารูปแบบการปฏิบัติงาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็น อสม.ดีเด่น จำนวน 4 คน ซึ่งได้จากการคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีข้อมูลตรงตามประเด็นการวิจัยมากกว่าปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกได้ค่าความตรงตามเนื้อหาระหว่าง 0.67 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยการตรวจสอบสามเส้า และ 2) การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม. จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ซึ่งได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบการปฏิบัติงาน ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินการปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามได้ค่าความตรงตามเนื้อหาระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.98 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired samples t-test และ Independent samples t-test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการปฏิบัติงานประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหานมแม่ และอนามัยแม่และเด็ก 2) การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนมแม่ และอนามัยแม่และเด็ก 3) การดูแลสุขภาพของหญิงตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ และระยะหลังคลอด 4) การดูแลสุขภาพของเด็ก 5) การส่งเสริมและสนับสนุนงานนมแม่ และอนามัยแม่และเด็ก และ 6) การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เมื่อนำรูปแบบการปฏิบัติงานไปทดลองใช้ พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติงานสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. เรียกใช้เมื่อ 17 ตุลาคม 2565 จาก https://www.thaiphc.net/new2020/content/1
กรมอนามัย. (2566). รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพมหานคร: กองอนามัยมารดาและทารก กรมอนามัย.
กุนทินี กุสโร. (2565). รูปแบบการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมพื้นเมืองอีสาน ตำบลโพนทราย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 262-270.
คณะกรรมการอนามัยแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ 12. (2566). คู่มือหลักสูตรอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เชี่ยวชาญอนามัยแม่และเด็ก. ยะลา: เกรทเตอร์ มัลติมีเดีย.
จรณิต แก้วกังวาล. (2561). ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคลินิก. ใน พรรณี ปีติสุทธิธรรม, ชยันต์ พิเชียรสุนทร (บรรณาธิการ), ตำราการวิจัยทางคลินิก ฉบับปรับปรุงใหม่ (หน้า 185-227). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
จิตรานันท์ กุลทนันท์ และคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมงานอนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: เขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง. วารสารพยาบาลสงขลานครินท์, 42(1), 73-84.
ทัศนีย์วรรณ สรศักดิ์. (19 ม.ค. 2566). การปฏิบัติงานนมแม่ และอนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่นระดับชาติ. (พิมลรัตน์ ชื่นบาน, ผู้สัมภาษณ์)
ธีรดาภรณ์ ทรัพย์ธนเจริญ. (19 ม.ค. 2566). การปฏิบัติงานนมแม่ และอนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่นระดับจังหวัดสุโขทัย. (พิมลรัตน์ ชื่นบาน, ผู้สัมภาษณ์)
เบญจรัตน์ ทาริยะชัย. (18 ม.ค. 2566). การปฏิบัติงานนมแม่ และอนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่นระดับเขตสุขภาพที่ 2. (พิมลรัตน์ ชื่นบาน, ผู้สัมภาษณ์)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2567). เรื่อง การประกาศเกียรติคุณอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่น. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 56 ง หน้า 3-5 (28 กุมภาพันธ์ 2567).
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลาง. (2567). เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และการรายงานผลการปฏิบัติงานตามแบบ (อสม.1) พ.ศ. 2566 (ฉบับที่ 2). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 281 ง หน้า 33 (11 ตุลาคม 2567).
ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2561). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง: การประยุกต์ใช้ในงานวิจัยเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
พิชฏา อังคะนาวิน และคณะ. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนที่มีต่อความรู้และทักษะในการให้คคำแนะนำแก่มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 5(2), 411-419.
เพชรา ทองเผ้า และคณะ. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 28(1), 1-15.
ยุทธนา แยบคาย และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2563). การปฏิบัติงานตามบทบาทที่สำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 31(2), 269-279.
ยุทธนา แยบคาย และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2566). รูปแบบการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารแพทย์นาวี, 50(3), 651-668.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). รายงานฉบับสมบูรณ์การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. (2563). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.
สุมาลี กลิ่นแมน และธัญยธรณ์ รุจิรัตน์ธีรกุล. (2564). การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครสวรรค์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(36), 115-128.
องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2564). ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ: ผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย.
อรุณศรี นามกรณ์. (18 ม.ค. 2566). การปฏิบัติงานนมแม่ และอนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่นระดับภาค ภาคเหนือ. (พิมลรัตน์ ชื่นบาน, ผู้สัมภาษณ์)
Bloom, B. S. J. (1975). Taxonomy of educational objectives, handbook I: the cognitive domain. New York: David McKay.
Browne, R. H. (1995). On the use of a pilot sample for sample size determination. Statistics in medicine, 14(17), 1933-1940.
Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychology and education. New York: McGraw-Hill.
Hennessy, S. et al. (1999). Factors influencing the optimal control-to-case ratio in matched case-control studies. American Journal of Epidemiology, 149(2), 195-197.
Miles, M. B. & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook. (2nd ed.). Thousand Oaks, California: Sage.
Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49-60.