รูปแบบการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำแห่งนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพหุวิธี มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ดำเนินการ 4 ระยะ ได้แก่ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากเอกสาร จำนวน 30 แหล่ง และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 7 คน ตรวจสอบและยืนยันด้วยการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาโดยการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 346 คน และศึกษาแนวทางการพัฒนาด้วยการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 25 คน 3) พัฒนารูปแบบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 6 คน และ 4) ตรวจสอบความ
ถูกต้องและความเหมาะสมด้วยการสัมภาษณ์เพื่อตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ประเมินเกี่ยวกับความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์โดยผู้ที่มี ส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบมี 6 องค์ประกอบ คือ 1.1) การคิดเชิงสร้างสรรค์ 1.2) การคิดเชิงกลยุทธ์ 1.3) การสร้างเครือข่าย 1.4) การประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ 1.5) บุคลิกภาพเชิงนวัตกรรม และ 1.6) การวางแผนและประเมินความเสี่ยง ปัจจัยภายใน มี 5 ปัจจัย คือ 1) วิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ 2) วัฒนธรรมองค์กร 3) ขวัญและกำลังใจของบุคลากร 4) การจัดโครงสร้างการบริหาร และ 5) ทรัพยากร ปัจจัยภายนอก มี 4 ปัจจัย คือ 1) การส่งเสริม สนับสนุนและจูงใจ 2) การสร้างภาคีเครือข่าย 3) นโยบายหน่วยงานต้นสังกัด และ 4) บริบททางสังคม 2) สภาพปัจจุบันของทักษะโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาอยู่ในระดับน้อย สภาพปัจจุบันของปัจจัยภายในและภายนอกอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาอยู่ในระดับน้อย 3) รูปแบบประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ และ 4) มีความถูกต้องและความเหมาะสมทุกรายการความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กุลชลี จงเจริญ. (2564). ชุดวิชา 23728 นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ หน่วยที่ 12 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เดชา ลุนาวงค์. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุริยาสาส์น.
สมาน อัศวภูมิ. (2557). การบริหารสถานศึกษาตามแนวการปฏิรูปการศึกษายุคใหม่. (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: อุบลกิจ ออฟเซท การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2567). มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดแพร่. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดแพร่ พ.ศ. 2566 - 2570. แพร่: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดแพร่.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cascio, J. (2020). Facing the age of chaos. Retrieved April 23, 2024, from https://medium.com/@cascio/the-bani-election-01fd3bd3219c
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Scott, D. A. (2012). The little black book of innovation. Bangkok: Expernet Co., Ltd.