ปัญหาทางกฎหมายในการรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ในการดำเนินคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในคดีอาญาโดยเฉพาะในชั้นพนักงานสอบสวน โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์การรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ทั้งในกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์จากเอกสารเป็นสำคัญ ซึ่งมีการเปรียบเทียบหลักกฎหมายสากลและหลักกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน บทความทางวิชาการ งานสารานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ วารสารกฎหมายต่าง ๆ ตลอดจนคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยต่อไป ผลการศึกษาพบว่า พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาในคดีซับซ้อน โดยยึดหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการพิจารณาที่เป็นธรรมและไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม พบปัญหาในการรวบรวมหลักฐานในชั้นสอบสวน ซึ่งขาดขั้นตอนที่ชัดเจนและไม่มีการแบ่งแยกประเภทกลุ่มตัวอย่างร่างกาย นอกจากนี้ กฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ใช้บทสันนิษฐานที่เป็นผลร้ายต่อผู้ต้องหาเฉพาะคดีที่มีโทษจำคุกเกินสามปี ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการบังคับใช้กฎหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่า ทุกประเทศให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในกระบวนการยุติธรรม แต่แตกต่างกันในวิธีการเก็บหลักฐาน ดังนั้น ควรปรับปรุงกฎหมายโดยกำหนดขั้นตอนการเก็บหลักฐานให้ชัดเจน แบ่งประเภทหลักฐานเป็นภายในและภายนอกของร่างกายตามหลักสากล และปรับฐานความผิดทางอาญาที่ต้องใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสม รวมถึงยกเลิกบทสันนิษฐานที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลเพื่อความเป็นธรรม
Article Details
References
จิราภรณ์ ศรีแจ่ม. (2567). คดี “ป้าบัวผัน” สะท้อนปัญหางานสอบสวนตำรวจไทยและทัศนคติ “เป็นลูกตำรวจทำอะไรก็ไม่ผิด” หรือไม่. เรียกใช้เมื่อ 29 สิงหาคม 2567 จาก https://www.bbc.com/thai/articles/c9e2zl5534no
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2558). หลักพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
ภาณุพล บุรพันธ์ และอัจฉรียา ชูตินันทน์. (2557). การคุ้มครองเด็กและผู้หญิงจากการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ตามมาตรา 131/1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภาณุมาตร์ ขำคล้าย. (2565). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการนำเอาข้อมูลสารพันธุกรรมไปใช้ในคดีอื่น. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศรันยา สีมา. (2564). การสอบสวนในคดีอาญา. เรียกใช้เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript-rr2564-jan2
สหรัฐ กิติ ศุภการ. (2563). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอด์พับลิชชิ่ง จำกัด มหาชน.
สำนักกฎหมาย woody law. (2562). Crime Control and Due Process. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/0WrNG
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2563). รวมคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ประจำปี 2562 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: พี.เพรส จำกัด.
อรรถพล แซ่มสุวรรณวงศ์. (2554). นิติวิทยาศาสตร์ 4 เพื่อการสืบสวนสอบสวน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ดาวฤกษ์ จำกัด.
เอกฤทธิ์ พิศนุภูมิ. (2555). การตรวจส่วนประกอบของร่างกายกับการประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคลใน คดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 131/1. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Isra news. (2566). 5 ปี คดี ‘บอส’ ข้อครหาดองเรื่อง-เลื่อนพบอัยการ 7 หน ก่อนอินเตอร์โพลแพร่ หมายจับทั่วโลก. เรียกใช้เมื่อ 25 ตุลาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/DEc91
Thai PBS. (2565). ตร.แถลงปิดสำนวน “คดีแตงโม” 2,249 แผ่น ส่งฟ้อง 5 ผู้ต้องหา. เรียกใช้เมื่อ 29 สิงหาคม 2567 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/314892