ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขังหญิง: กรณีศึกษา ทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ดาวเรือง เหลืองขจร
สนิทเดช จินตนา
มณิภัทร์ ไทรเมฆ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขังหญิง 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีผลต่อความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขังหญิง และ3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยกระบวนการจัดการฝึกวิชาชีพที่มีผลต่อความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขังหญิง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ต้องขังหญิง ณ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง จำนวน 260 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสำเร็จในการ
ฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขังหญิงอยู่ในระดับสูง ( equation = 4.39, S.D. = 0.53) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความยั่งยืน ( equation = 4.43, S.D. = 0.57) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านประสิทธิผล ( equation = 4.35, S.D. = 0.60) 2) ปัจจัยการบริหารจัดการทรัพยากรมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพของ ผู้ต้องขังหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรอิสระทั้งหมดมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพในระดับสูง (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ .722 และสามารถพยากรณ์ตัวแปรตามได้ร้อยละ 51.5) และ 3) ปัจจัยกระบวนการจัดการฝึกวิชาชีพมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขังหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เช่นกัน โดยตัวแปรอิสระทั้งหมดมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพในระดับสูง (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ .812 และสามารถพยากรณ์ตัวแปรตามได้ร้อยละ 65.5) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการทรัพยากรและกระบวนการฝึกวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขังหญิงซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการฝึกอบรมในทัณฑสถานต่อไป

Article Details

How to Cite
เหลืองขจร ด., จินตนา ส., & ไทรเมฆ ม. (2025). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขังหญิง: กรณีศึกษา ทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 9(3), 236–246. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/281681
บท
บทความวิจัย

References

กองพัฒนาพฤตินิสัย. (2561). คู่มือการจัดโปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังตามลักษณะแห่งคดีและพฤติการณ์การกระทำผิด. นนทบุรี: กรมราชทัณฑ์.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2566). แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570). นนทบุรี: กรมราชทัณฑ์.

กัมปนาท พรพรหมวินิจ. (2559). ประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาชุมชนตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงไปปฏิบัติของเทศบาลในภาคตะวันออก. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์.

นิยม แลบัว. (2564). ประสิทธิผลการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังเรือนจำเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 3(1), 45-60.

พรวิไล อุ้ยดำรงธรรม. (2564). การเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังก่อนปล่อยตัวสู่สังคมในประเทศไทย. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 3(2), 34-47.

วีระโชติ ชุณหรุ่งโรจน์ และยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 5(1), 1-20.

ศวิตา ประไพรัตน์. (2564). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำโครงการก้าวสู่งานที่ดี คนมีคุณภาพ ไปปฏิบัติภายใต้ศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย (Smart Job Center). ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศักดินา แก่นแก้ว และมูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง. (2561). การฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขังชาย: กรณีศึกษาเรือนจำกลางปัตตานี หมู่ที่ 8 ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย. (2564). คู่มือสำหรับการจ้างงานผู้ต้องขัง ผู้พักโทษและพ้นโทษ เพื่อการกลับคืนสู่สังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ประเทศไทย.

สนิทเดช จินตนา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารและการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560 - 2562 ไปสู่ปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทหารใน 3 จังหวัดชายแดนใต้. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities & Social Sciences, 21(1), 141-155.

สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ และกิริยา กุลกลการ. (2562). ผู้พ้นโทษไร้สิทธิประกอบอาชีพ. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 34(2), 123-145.

องค์กรการปฏิรูปการลงโทษสากลและสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย. (2566). แนวโน้มสถานการณ์เรือนจำโลกปี 2566. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย.

อริสา สำรอง และสุภัทริภา ขันทจร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของผู้ต้องขังชายเรือนจำกลางชลบุรี ที่ได้รับการบำบัดฟื้นฟูโดยการฝึกวิชาชีพ. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(2), 203-215.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1977). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.