บทวิเคราะห์ว่าด้วยจารีตและมนุษยธรรมในปรัชญาของขงจื่อ

ผู้แต่ง

  • เด่นพงษ์ แสนคำ

คำสำคัญ:

ขงจื่อ, ปรัชญาจีน, จารีต, มนุษยธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ วิเคราะห์มโนทัศน์ว่าด้วยจารีตและมโนทัศน์ว่าด้วยมนุษยธรรมของขงจื่อ โดยวิธีการศึกษาจากเอกสารสำคัญ คือ คัมภีร์หลุนอี่ว์ จากการศึกษาพบว่า 1) จารีตในทัศนะของขงจื่อ คือสิ่งที่ทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์หรือเรียกว่าเป็นผู้มี “มนุษยธรรม” นอกจากนี้จารีตของขงจื่อยังเป็นกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมในการขัดเกลามนุษย์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ขงจื่อปฏิเสธกฎหมายเพราะไม่สามารถขัดเกลามนุษย์ได้ 2) ส่วนของมนุษยธรรมนั้น ขงจื่ออธิบายว่ามนุษย์ธรรมแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรซึ่งก็คือ ความกตัญญู บทความนี้เสนอว่าความกตัญญูของขงจื่อมิใช่ความสัมพันธ์แบบระบบอุปถัมภ์ แต่เป็นความกตัญญูที่ช่วยให้มนุษย์ตระหนักถึงคุณค่าทางศีลธรรมที่มีอยู่ภายใน

References

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2557). เศรษฐกิจเชิงแก่นสาร คาร์ล โปลานยี และวิถีการดำรงชีพ ใน วสันต์ ปัญญาแก้ว (บรรณาธิการ), สังคมเปลี่ยนผ่าน เปลี่ยนผ่านสังคม รวมบทความวิชาการในวาระครบรอบ 50 ปี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (น. 139-180). เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พุฒวิทย์ บุนนาค. (2547). แนวคิดเรื่องสิทธิในปรัชญาขงจื๊อ ใน สุวรรณา สถาอานันท์ (บรรณาธิการ), รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนานักวิจัยทางปรัชญาตะวันออกรุ่นใหม่. (น. 171-189). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

มานิตย์ จุมปา. (2548). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รชฏ สาตราวุธ. (2547). จริยศาสตร์แห่งความโศกเศร้าในปรัชญาขงจื๊อ ใน สุวรรณา สถาอานันท์ (บรรณาธิการ), รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนานักวิจัยทางปรัชญาตะวันออกรุ่นใหม่. (น. 138-170). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ริชาร์ด ฮัลโลเวย์. (2560). ศาสนา: ประวัติศาสตร์ศรัทธาแห่งมวลมนุษย์. แปลโดย สุนันทา วรรณสินธ์ เบล. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.

วุฒิชัย ตันตระบัณฑิตย์. (2544). ปัญหาการใช้ความกตัญญูกตเวทีของสถาบันครอบครัวในสังคมไทย. (การศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ศริญญา อรุณขจรศักดิ์. (2554). ปรัชญาสำนักขงจื่อ/Confucianism: สารานุกรมปรัชญาออนไลน์. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2563. จาก http://www.parst.or.th/philospedia/confucianism.html#31.

สุวรรณา สถาอานันท์. (2556). กระแสธารปรัชญาจีน: ข้อโต้แย้งเรื่อง ธรรมชาติ อำนาจ และจารีต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

________. (2546). คัมภีร์ขงจื่อ (เล่มที่ 1-8) เอกสารประกอบการสอนวิชาสัมมนาปรัชญาจีน. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2562). หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา. กรุงเทพฯ: โอเพ่น โซไซตี้.

แสงสว่าง กิตติสยาม. (2547). มโนทัศน์พื้นฐานในจริยศาสตร์แบบขงจื๊อ ใน สุวรรณา สถาอานันท์ (บรรณาธิการ), รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนานักวิจัยทางปรัชญาตะวันออกรุ่นใหม่. (น. 102-117). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์. (2547). น้ำใจวิญญูชน: จริยศาสตร์แห่งความเอื้ออาทรในปรัชญาขงจื๊อ ใน สุวรรณา สถาอานันท์ (บรรณาธิการ), รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนานักวิจัยทางปรัชญาตะวันออกรุ่นใหม่. (น. 118-137). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Ebrey, P. (2010). The Cambridge Illustrated History of China. Cambridge: Cambridge University Press.

Evans, C. S. (2002). Pocket Dictionary of Apologetics & Philosophy of Religion. Downers Grove, IL: InterVarsity Press.

Hall, D. L., & Ames, R. T. (1998). Thinking from the Han: Self, truth, and transcendence in Chinese and Western culture. New York: State University of New York Press.

Hansen, C. (2000). A Daoist theory of Chinese thought: A philosophical interpretation. New York: Oxford University Press on Demand.

Havens, T. (2013). Confucianism as humanism. CLA Journal, 1, 33-41.

Jaspers K. (1962). The great philosophers. London: Rupert Hart-Davis.

Juergensmeyer, M. (2005). Religion in Global Civil Society. New York: Oxford University Press.

Runes, Dagobert D., ed. (1983). Dictionary of Philosophy. New York: Philosophical Library.

Tsai, D. F. (2005). The bioethical principles and Confucius’ moral philosophy. Journal of Medical Ethics, 31(3), 159-163.

Whatley, M. A., Webster, J. M., Smith, R. H., & Rhodes, A. (1999). The effect of a favor on public and private compliance: How internalized is the norm of reciprocity?. Basic and Applied Social Psychology, 21(3), 251-259.

Yao, Xinzhong. (2000). An Introduction to Confucianism. Cambridge: Cambridge University Press.

Zehou, L. (1999). Subjectivity and “subjectality”: A response. Philosophy East and West, 49(2), 174-183.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-03