การศึกษาวิเคราะห์กระบวนการดำเนินชีวิตด้วยพุทธสันติวิธีตามแนวศีล 5

ผู้แต่ง

  • พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ (ตรีกมล) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ (ตรีกมล) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กระบวนการดำเนินชีวิต, พุทธสันติ, ศีล 5

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตด้วยศีล 5 และ 2) ศึกษาวิเคราะห์ศีล 5 กับกระบวนการดำเนินชีวิตด้วยพุทธสันติวิธี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์

     จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตด้วยศีล 5 ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เป็นการนำศีล 5 มาปฏิบัติในวิถีชีวิต โดยที่พระองค์ไม่ได้สอนให้ปฏิบัติตามศีลทั้ง 5 ข้อ แต่สอนให้มีเมตตา สอนให้ประกอบอาชีพสุจริต สำรวมในกามคุณ มีสัจจะและไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต เป็นต้น ส่วนรูปแบบการดำเนินชีวิตด้วยศีล 5 ในสังคมปัจจุบัน อยู่ในขอบเขตของมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ โดยการสร้างแรงจูงใจ ระเบียบ แบบแผน ลดปัจจัยกระตุ้นเร้าให้เกิดความรุนแรง การเห็นคุณค่าของชีวิต ประโยชน์ของการรักษาศีล ความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์

     ศีล 5 เป็นแนวทางสันติวิธีที่เกิดจากจิต แล้วแสดงออกในเชิงพฤติกรรมทางกายและวาจา ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนและเบียดเบียนกัน ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในข้อปฏิบัติ ทำให้คนเคารพในคุณงามความดีของกันและกัน ลดความหวาดระแวง และก่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือในการปฏิสัมพันธ์กันด้วยเมตตาธรรม ก่อให้เกิดระบบ ระเบียบแบบแผนในชีวิต กระบวนการดำเนินชีวิตด้วยศีล 5 อันเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการชีวิตแบบพุทธสันติวิธีก่อให้เกิดความสงบสุขในชีวิต สามารถบริหารจัดการความขัดแย้งในระดับปัจเจกชน และขยายผลไปสู่สันติสุขในสังคมอย่างยั่งยืน

References

ธีรพงษ์ มหาวีโร. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2555). กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.

นนทนา อังสุวรังสี. (2539). วิเคราะห์เปรียบเทียบค่านิยมและการปฏิบัติเกี่ยวกับเบญจศีลของชาวพุทธในสังคมเมืองและชนบท ที่อยู่ในและนอกโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง: ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านในอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). จริงใจและเมตตาที่กอรปด้วยปัญญา สลายความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย จำกัด.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2548). รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี: กรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค.

สนิท ศรีสำแดง. (2544). พระพุทธศาสนากระบวนทรรศน์ใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุจิตรา อ่อนค้อม. (2549). การฝึกสมาธิ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-15