การศึกษาความสำคัญของมูลกัมมัฏฐานในกายคตาสติสูตร

ผู้แต่ง

  • พระสำรอง สญฺญโต (แสงทอง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

มูลกัมมัฏฐาน, กายคตาสติสูตร, วิปัสสนา

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาคำสอนและความสำคัญของมูลกัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการใช้มูลกัมมัฏฐานในกายคตาสติสูตรเป็นฐานในการเจริญสมถะและวิปัสสนา การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา

     ผลการวิจัยพบว่า หลักคำสอนและความสำคัญของมูลกัมมัฏฐานเป็นการปฏิบัตอีกวิธีหนึ่งในกัมมัฏฐาน 40 ซึ่งอยู่ในกลุ่มอนุสสติกัมมัฏฐาน กายคตาสติกัมมัฏฐานเป็นกัมมัฏฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนแก่ภิกษุ ภิกษูณี อุบาสก อุบาสิกา มูลกัมมัฏฐานใช้สติพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนังในร่างกายของมนุษย์มีลักษณะล้วนเป็นอสุภะ ไม่สวยงาม ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ น่ารังเกียจ ให้รู้เท่าทัน ไม่หลงใหล พระอุปัชฌาย์จะสอนแก่บุคคลที่มาบวชในพระพุทธศาสนาเป็นกัมมัฏฐานเบื้องต้น

     การใช้มูลกัมมัฏฐานในกายคตาสติสูตรเป็นฐานในการเจริญสมถะและวิปัสสนา พระอุปฌาย์จะบอกมูลกัมมัฏฐานเพื่อให้ภิกษุใหม่ได้พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน และหนังในร่างกายของมนุษย์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไม่คงทน จะเกิดสมาธิและปัญญา มองเห็นสรรพสิ่งไม่เที่ยง มีสติรู้เท่าทัน

References

พระครูติลกานุรักษ์ (ปราโมทย์ มหาวีโร). (2558). ศึกษามูลกัมมัฏฐานในกายคตาสติ. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน). (2540). คู่มือพระอุปัชฌาย์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สหายพัฒนาการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อนุวัตร์ ตรีจิตรวัฒนากุล. (2548). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องกายคตาสติในพระไตรปิฎก. (สารนิพนธ์ศาสนศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-15