การบริหารจัดการวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการ ระดับเจ้าอาวาส จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พระศักดิ์สาคร มหาวิริโย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการวัด, หลักธรรมาภิบาล, พระสังฆาธิการ

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของพระสังฆาธิการ ระดับเจ้าอาวาส จังหวัดขอนแก่น และ 2) วิเคราะห์การบริหารจัดการวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ด้วยพรรณนาวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาสในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 กลุ่มตัวอย่าง

     ผลการศึกษาพบว่า สภาพการบริหารจัดการวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ระดับเจ้าอาวาส จังหวัดขอนแก่น ระดับความคิดเห็นของพระสังฆาธิการต่อการบริหารจัดการวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ระดับเจ้าอาวาส โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ หลักคุณธรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 หลักความโปร่งใส มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 หลักการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 หลักความคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 หลักนิติธรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 และหลักความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97

     หลักธรรมาภิบาลที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการวัด คือ หลักนิติธรรม การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ ความคุ้มค่า ความโปร่งใส หลักคุณธรรม ซึ่งมีหลักธรรมพระพุทธศาสนาที่วัดได้นำมาประยุกต์ใช้ และเมื่อนำหลักธรรมาภิบาลไปบูรณาการกับการบริหารจัดการวัดแล้ว การปกครองที่บกพร่อง ทำให้การบริหารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศาสนศึกษามีปัญหาด้านบุคลากร งบประมาณ และวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยบูรณาการเข้ากับวิทยาการสมัยใหม่ การเผยแผ่ เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมและนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ การสาธารณูปการต้องบริหารในรูปคณะกรรมการให้เกิด ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การศึกษาสงเคราะห์ จัดกองทุนช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และการสาธารณสงเคราะห์ ต้องทำหน้าที่ช่วยประชาชน โดยเกลี่ยทรัพยากรจากส่วนที่มากไปสู่ส่วนที่ขาดแคลน

References

กรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2521). ลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ไทยโดยสังเขปในประวัติการปกครองสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). วัดพัฒนา’ 52. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

คชาภรณ์ เจริญศรี และคณะ. (2554). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2544). รายงานการวิจัยตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปลื้ม โชดิษฐยางกูร. (2550). คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสาธิตวีรญาณ อยู่สุข. (2558). ศึกษาธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการพันธกิจของวัด. Journal of Nakhonratchasima College, 9(2), 92-102.

พระธีระยุทธ์ อุชุจาโร (เอมเปีย). (2561). การบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัด อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. (สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระอธิการผจญ อาจาโร. (2553). ศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการบริหารวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

อินทรัตน์ ยอดบางเตย. (2547). ธรรมรัตน์. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้ากรุ๊ป.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-15