การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้การทำงานกลุ่ม โดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, พฤติกรรมการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้การทำงานกลุ่ม โดยการจัดการเรียนรู้ แบบเชิงรุก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน 2) พัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ของนักเรียนเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน โดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก จํานวน 29 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน (3) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าความแตกต่างโดยใช้ Paired-Sample T-Test ที่ระดับนัยสําคัญ .05
ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน หลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีพฤติกรรมการเรียนรู้หลังเรียนอยู่ในระดับมากขึ้นและในด้านการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองสังข์วิทยายนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยภาพรวมทั้งในด้านการจัดการเรียนรู้และด้านผู้เรียนอยูในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท สยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
จิราภร อรรถพร และประกอบ กรณีกิจ. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนเชิงรุกออนไลน์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วารสารอิเลคทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(4), 122-136.
ไพศาล เครือแสง. (2556). เทคนิคการสอนเชิงรุกเรียนรู้ประสบการณ์จาก Shelton College International ประเทศสิงคโปร์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์, 2(4), 24-36.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัท ตถาตา พับลิเคชัน จํากัด.
ศิริรัชส์ อินสุข, อภิชาติ อัจฉริยศักดิ์ชัย และรณภพ อิ้มทับ. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก รายวิชาชีวเคมี ตามกรอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน” 17 มิถุนายน 2559 (น. 192 - 200). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
. (2547). โรงเรียนวิถีพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd.). New York: Harper and Row.