พฤติกรรมและปัจจัยสนับสนุนศิลปินเกาหลีผ่านร้านคาเฟ่ของวงเซเว่นทีนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อภิชญา เขียวแก้ว เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรุณี ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

คาเฟ่, วันเกิด, ศิลปินเกาหลี, เซเว่นทีน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะการจัดคาเฟ่วันเกิดศิลปินเกาหลีใต้ในประเทศไทย (2) ศึกษาพฤติกรรมทั่วไปของบุคคลที่เข้าร่วมคาเฟ่วันเกิดของวงเซเว่นทีน และ (3) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมคาเฟ่วันเกิดของวงเซเว่นทีน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวบรวมจากผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมคาเฟ่วันเกิดวงเซเว่นทีน ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2563-2564 จำนวน 400 คน ด้วยแบบสอบถามสำรวจผ่านทาง Google Form นำมาใช้ในการคาดประมาณสมการถดถอยแบบพหุ ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด

ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดคาเฟ่วันเกิดศิลปินเกาหลี คือเช่าร้านคาเฟ่ และทำการตกแต่งด้วยภาพศิลปินเจ้าของวันเกิด ตกแต่งภายในร้านให้เกิดความสวยงาม และผู้จัดงานมีการเตรียมของแจกที่ระลึกสำหรับผู้เข้าร่วม เพื่อดึงดูดให้แฟนคลับมาร่วมกิจกรรม

ส่วนพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ การมีเพื่อนหรือคนที่รู้จักชักชวน เป็นการจัดกิจกรรมคาเฟ่วันเกิดของสมาชิกที่ตนเองชื่นชอบ วันและเวลาสะดวกที่จะไปเข้าร่วม ต้องการที่จะร่วมกลุ่มเพื่อน ทำการสังสรรค์กับคนที่มีความชอบเหมือนกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วม

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมคาเฟ่วันเกิดของวงเซเว่นทีน แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ 1) ด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ ความชื่นชอบศิลปินวงเซเว่นทีน (แฟนคลับ) ที่พักอาศัยปัจจุบัน 2) ด้านส่วนประสมการตลาด ได้แก่ รสชาติของเบเกอรีและเครื่องดื่ม (ผลิตภัณฑ์) ราคา และสถานที่ โดยวัดจากระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95

References

จรรยาลักษณ์ สิริกุลนฤมิตร. (2558). องค์ประกอบการสื่อสารและกระแสนิยมเพลงเกาหลีในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

จารุภัค อธิวัฒน์ภิญโญ, มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย และ ปีเตอร์ รุ่งเรือนกานต์. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และการธำรงรักษาของกลุ่มแฟนคลับนักร้องเกาหลีในประเทศไทยกรณีศึกษาศิลปินวง GOT7. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 7(1), 220-229.

ทัชระ ล่องประเสริฐ. (2561). Call me oppa. กรุงเทพฯ: บันลือบุ๊คส์.

นันทิพา บุษปวรรธนะ และ นาวิน วงศ์สมบุญ. (2563). ความสำเร็จในการเผยแพร่กระแสวัฒนธรรมเกาหลี (Korean Wave): บทบาทของรัฐบาลและอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(2), 1-25.

บุณยนุช นาคะ. (2561). แฟนคลับเกาหลี อัตลักษณ์เชิงวัตถุและชุมชนแฟนคลับ. (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยทางสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ไพบูลย์ ปีตะเสน และ จิราพร จันจุฬา. (2563). ถอดรหัสเส้นทางสู่ฮัน-รยู 4.0. Journal of Liberal Arts, Prince of Songkla University, 12(2), 1-17.

ภัทระ เครือคล้าย และ วิไลภรณ์ จิรวัฒนเศรษฐ์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการสื่อสารการตลาด ผลิตภัณฑ์แบรนด์สินค้าของวง BNK48 ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ของกลุ่มแฟนคลับวง BNK48 เจนเนอเรชั่นวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเซนต์จอห์น, 24(34), 126-142.

Kother P. & Keller K. (2016). Marketing Management. (15th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Likert, Rensis A. (1961). New patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-06