ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีและการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง กรณีศึกษา : เคพลัส บัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง และ เคเอ็มเอ กรุงศรี โมบายแอป

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา สุขบุญเพ็ง เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นนทร์ วรพาณิชช์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความเชื่อมั่น, โมบายแบงก์กิ้ง, ส่วนประสมทางการตลาด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง (2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง งานวิจัยในครั้งนี้มีการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ใช้บริการทางการเงินผ่านแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง เคพลัส, บัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง และ เคเอ็มเอ กรุงศรี โมบายแอป จำนวน 400 คน นำมาวิเคราะห์สถิติโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุ  

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า การส่งเสริมการตลาดมีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้งของผู้ใช้บริการ ด้านคุณภาพการบริการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อผู้บริโภครับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่ายหรือรับรุ้ข่าวสารในการใช้บริการเพิ่มขึ้น จะทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการใช้บริการแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้งมากขึ้น เป็นร้อยละ 32.60

ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี พบว่า การรับรู้ถึงประโยชน์ที่เกิดจากการใช้งานมีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้งของผู้ใช้บริการ ด้านคุณภาพของระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อผู้บริโภครับรู้ถึงประโยชน์จากการใช้งานมากขึ้น จะทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการใช้บริการแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้งมากขึ้น เป็นร้อยละ 100

References

จิรนันท์ พุ่มภิญโญ. (2553). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับโมบายแบงค์กิ้งของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ณัฏฐณิชา มะลิทอง. (2552). ความพึงพอใจของลกู ค้าต่อบริการธนาคารผ่านอินเตอร์เน็ตของธนาคารพาณิชย์ ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ประชาชาติธุรกิจ. (2563). ล่มทุกแบงก์ ธปท.เปิดข้อมูล5ธนาคารใหญ่โมบายแอปขัดข้อง ช่วง ก.ค.-ก.ย.63. สืบค้น 24 เมษายน 2565. จาก https://www.prachachat.net/finance/news-552532.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564). แบงก์ติดสปีด “โมบายแบงกิ้ง” รองรับผู้ใช้งาน-ธุรกรรม พุ้งก้าวกระโดด. สืบค้น 24 เมษายน 2565. จาก: https://www.prachachat.net/finance/news-659420.

ปิยะนุช วิเชียรพันธุ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับลูกค้านิติบุคคล ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด (มหาชน). (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ภัทรา มหามงคล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารทาง โทรศัพท์มือถือของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

เยาวลักษณ์ ปานประดิษฐ์ และ ธนวัต ลิมป์พาณิชย์กุล. (2563). ความผูกพันในการใช้บริการธุรกรรมของธนาคารผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Banking) ของผู้ใช้บริการที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล: มุมมองจากทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 14(20), 45-77.

ศนิ อนันต์รัตนโชติ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการชำระเงินผ่านระบบเว็บไซต์ (Web Payment) ของผู้ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-23