การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต

ผู้แต่ง

  • นิวัฒนา วรรณคำ นักวิชาการอิสระ
  • พระครูวินัยธรวรชัด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระบวร ปวรธมฺโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ชุ่ม พิมพ์คีรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ณัฐธยาน์ แวงอุบล นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, เทคนิค, การคิดแก้ปัญหาอนาคต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน นักศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจ และประเมินผลการแก้ปัญหา ทั้งระดับบุคคลและระดับกลุ่ม และเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ร่วมกันทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การระดมสมองเพื่อค้นพบปัญหาต่างๆ 2) การค้นหาและสรุปปัญหาที่สำคัญที่สุด 3) การระดมสมองเพื่อคิดหาวิธีการและแนวทางการแก้ปัญหา 4) การกำหนดและเลือกเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อในการประเมินวิธีการแก้ปัญหา 5) การประเมินผล เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่ดีและมีความเหมาะสมมากที่สุด 6) การเสนอวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาและแผนปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการนำเทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคตทั้ง 6 ขั้นตอน มาเป็นแผนการเรียนการสอนตามหัวข้อที่กำหนดไว้ โดยผู้สอนเป็นผู้กำหนดหัวข้อของปัญหา แล้วให้นักศึกษาทำการเรียนรู้การคิดแก้ปัญหาตามขั้นตอน ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีผู้สอนให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ แก่ผู้เรียนตลอดเวลาในการจัดการเรียนรู้

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จุฑามาศ แหนจอน. (2562). จิตวิทยาการรู้คิด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แกรนด์พอยท์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พสุธิดา ตันตราจิณ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำของบุคลากรรุ่นใหม่เพื่อมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 932–948.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2555). การศึกษาปัญหาการนิเทศภายในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหาร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครููมืออาชีพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวิทย์ มูลคำ. (2551). ครบเครื่องเรื่องการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สำนักนโยบายและแผนฯ. (2559). The opportunity ส่องโอกาส สร้างอาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัท โคคูน แอนด์ โค จำกัด.

อรรถพงษ์ ผิวเหลือง และคณะ. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน: แนวคิดเพื่อพัฒนาการสอนอ่านและเขียนภาษาไทย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(1), 24-36.

Bloom, B.S. (Ed.). Engelhart, M.D., Furst, E.J., Hill, W.H., Krathwohl, D.R. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook: The Cognitive Domain. New York: David McKayCo Inc.

Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. NewYork: McGraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29