การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน, ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษ, ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 75/75 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแหลมรัง “ราษฎร์บำรุง” จังหวัดพิจิตร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 23 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษ และแบบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test for dependent sample
ผลการศึกษา พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเสนอบทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ขั้นที่ 3 ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอผลงาน ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล โดยมีเนื้อหาของกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) What food do you like? 2) How to make และ 3) At the restaurant กิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.41/77.78
ความสามารถในฟังและการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2559). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คำสมัย.
ลภัสปาลิน ใจธรรม. (2558). การเรียนรู้แบบผสมผสานกรณีศึกษา : โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร. (สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร).
วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี. (2555). บทความปริทัศน์ การเรียนแบบผสมผสาน และการประยุกต์ใช้. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(1), 1-5.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). ผลการสอบกลุ่มสารการเรียนรู้ (วิชาภาษาอังกฤษ) ระดับประเทศ ปีการศึกษา 2564. สืบค้น 5 มกราคม 2565. จาก https://www.niets.or.th/th/.
สุจินันท์ พิมพ์ภิบาล และ ราเชน มีศรี. (2564). ผลของการใช้โมเดลการเรียนรู้แบบหมุนเวียนฐานในรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานต่อความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยระดับประถมศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 16(2), 1-14.
แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bonk, C.J., & Graham, C.R. (2004). Handbook of blended learning: global perspectives. San Francisco, CA: Pfeiffer publishing.
Brown, H.D. (2005). Teaching by principles and interactive approach to language pedagogy. New Jersey. Prentice Hall Regents.
Clark, J.L.D. (1972). Foreign Language Testing : Theory and Practice. Philadelphia: Center for Curriculum Development.
Dulay, H., Burt, M. and Krashen, S. (1982). Language two. New York: Oxford University Press.
Gallardo-Echenique, E. E., Marqués-Molías, L., Bullen, M., & Strijbos, J.-W. (2015). Let’s talk about digital learners in the digital era. The International Review of Research in Open and Distributed Learning, 16(3), 156-187.
Graham , C.R. (2012). Introduction to Blended Learning. Retrieved 5 January 2022. from http://www.media.wiley.com/product_data/except/86/C.pdf.
Horn, M. B., & Staker, H. (2011). The rise of K-12 blended learning. Innosight institute, 5(1), 1-17.
Matthew Lynch. (2018). 5 Major Benefits of Blended Learning. Retrieved 5 January 2022. from https://www.edweek.org/education/opinion-5-major-benefits-of-blended-learning/2018/05.
Sherina Lim. (2015). A case study of Staytion Rotation Model Blended in Traditional ELT Listening and Speaking Class at Phayao Pittayakhom School. (Master of Arts, Mae Fha Luang University).
Waheeb S. Albiladi. (2019). Blended Learning in English Teaching and Learning: A Review of the Current Literature. Journal of Language Teaching and Research, 10(2), 232-238.