การวิเคราะห์นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของไทย

ผู้แต่ง

  • สุรีย์พร สลับสี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • พงษ์พัต วัฒนพงศ์ศิริ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

นโยบาย, เบี้ยยังชีพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เผชิญกับสังคมผู้สูงอายุโดยรัฐจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายด้านสวัสดิการสังคม ซึ่งนโยบายสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุที่สำคัญ ได้แก่ นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและวิเคราะห์นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของประเทศไทย ตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินผลนโยบายผ่านตัวแบบต่างๆ โดยใช้การศึกษาจากเอกสาร และผลการศึกษาพบว่า นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นการดำเนินการที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นนโยบายที่เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงรัฐบาลในแต่ละคณะยังได้นำผลสะท้อนกลับจากนโยบายมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ ขั้นตอน กระบวนการในการดำเนินนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพและสร้างความเป็นธรรมได้สูงสุด สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ควรมีระบบการส่งเสริมภาคีเครือข่ายหรือภาคส่วนอื่นของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยด้วย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้น 13 สิงหาคม 2565. จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1099.

ธนัตถ์วนันท์ เอียดพวง. (2554). การประเมินโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์แทน จังหวัดนครนายก. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

บุญมี โททำ, ภักดี โพธิ์สิงห์, ชญานิน กฤติยะโชติ. (2561). การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 12(3), 149-158.

ประชาชาติธุรกิจ. (2561). รับสังคมผู้สูงวัย! TDRI คาดอีก 15 ปี คนไทยอาจใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงถึง 2.2 ล้านล้านบาท. สืบค้น 13 สิงหาคม 2565. จาก https://www.prachachat.net/general/news-105651.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 130 ก, หน้า 1-8.

ศิริชัย กาญจนาวาสี. (2545). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักวิชาการ. (2562). บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับสวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Etzioni, Amitai. (1967). “Mixed Scanning: A “Third” Approach to Decision Making,”. Public Administration Review, 27(5), 385–392.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29