การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ระหารไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูภัทรธรรมคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ทองดี ศรีตระการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กิจกรรม, การเรียนรู้, ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษาวิธีการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) เสนอแนวทางการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนมัธยมปลาย ม.4-6 จำนวน 175 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายรูปแบบโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า การเรียนการสอนแบบออนไลน์ การเรียนในชั้นเรียน การเรียนรู้โดยใช้สื่อ ใบงานและแบบฝึกหัด การเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชัน และการเรียนผ่านโทรทัศน์ ตามลำดับ

วิธีการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา คือ 1) การเรียนรู้ในชั้นเรียน ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม 2) การเรียนรู้ผ่านโทรทัศน์ สถานศึกษาควรสนับสนุนสื่อ และอุปกรณ์ให้กับนักเรียน 3) การเรียนรู้แบบออนไลน์ ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ผู้เรียนสามารถใช้เรียนได้ในทุกโอกาส 4) การเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชัน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนผ่านแอปพลิเคชันได้ตลอดเวลา 5) การเรียนรู้โดยใช้สื่อ ใบงาน และแบบฝึกหัด ควรใช้สื่อ ใบงาน และแบบฝึกหัดที่เข้าใจง่าย

แนวทางการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ดังนี้ 1) การเรียนในชั้นเรียน ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 2) การเรียนผ่านโทรทัศน์ ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเรียนผ่านโทรทัศน์ 3) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ครูผู้สอนควรใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชัน และควรจัดทำสื่อให้น่าสนใจ 4) การเรียนการสอนผ่านแอปพลิเคชัน ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชัน สื่อต้องมีเนื้อหาที่ถูกต้องและน่าสนใจ 5) การเรียนการสอนโดยใช้สื่อ ใบงาน และแบบฝึกหัด ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อ ใบงาน และแบบฝึกหัด ที่เข้าใจง่าย มีคำชี้แจงที่ชัดเจน และถูกต้องตามมาตรฐานการเรียนรู้

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ธานี สุขโชโต และ วรกฤต เถื่อนช้าง. (2563). การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดการ เรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(2), 143-154.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และ จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิด และการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

ศุภวรรณ การุญญะวีร์. (2564). การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 48-55.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบายด้านการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. สืบค้น 20 มิถุนายน 2564. จาก http://www.obec.go.th/documents/49552.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550–2554). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Morens, D. M., Daszak, P., Markel, H., & Taubenberger, J. K. (2020). Pandemic COVID-19 joins history’s pandemic legion. MBio, 11(3), e00812-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29